ถาม-ตอบ คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

กลุ่มพัฒนาระบบงานและอัตรากำลัง

A :


*หมายเหตุ : คุณวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๕ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (เฉพาะปริญญาที่ก.พ. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนตามหลักสูตร ๕ ปี) และคุณวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อย กว่า ๖ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายที่ ก.พ. กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในสายงานที่กำหนดตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘/ว ๑๒ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔

A : สามารถกระทำได้ ดังนี้
การนับระยะเวลาที่เกี่ยวข้องหรือเกื้อกูล ให้พิจารณาจากลักษณะงานที่ปฏิบัติงานอยู่จริงตามข้อเท็จจริงและคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ โดยช่วงระยะเวลาที่ปฏิบัติงานที่จะนำมานับนั้น ต้องเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งในส่วนของคุณวุฒิและคุณสมบัติอื่นที่ไม่ใช่ในส่วนของระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในประเภทและระดับตำแหน่ง มีแนวทางการพิจารณา ดังนี้
๑) ในกรณีที่เป็นการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานของตำแหน่งประเภทวิชาการ ประเภทอำนวยการ ประเภทบริหาร หรือตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่าตามที่ ก.พ. กำหนด ให้พิจารณานับระยะเวลาการปฏิบัติงานตามข้อเท็จจริงของลักษณะงานที่ปฏิบัติงานอยู่จริง
๒) ในกรณีที่เป็นการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานของตำแหน่งประเภททั่วไป หรือตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่าตามที่ก.พ. กำหนด ให้พิจารณานับระยะเวลาการปฏิบัติงานตามข้อเท็จจริงของลักษณะงานที่ปฏิบัติงานอยู่จริงโดยให้นับได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการปฏิบัติงานที่นำมานับ

A : เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อประเมินบุคคล เพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่งประเภททั่วไป และตำแหน่งประเภทวิชาการประกอบด้วยเอกสารดังต่อไปนี้

A : ผู้ขอรับการประเมินมีระยะเวลาในการปรับปรุงแก้ไขผลงานตามมติคณะกรรมการประเมินผลงาน ดังนี้

A :
ประเภททั่วไป
- ระดับชำนาญงาน แต่งตั้งได้ไม่ก่อนวันที่ผ่านการประเมิน
- ระดับอาวุโส แต่งตั้งได้ไม่ก่อนวันที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุพิจารณาคัดเลือกรวมทั้งต้องเป็นไปตามหนังสือ ว 255/2524 และ ว 38/2526
ประเภทวิชาการ
- แต่งตั้งได้ไม่ก่อนวันที่กรม กระทรวง หรือสำนักงาน ก.พ. ได้รับคำขอประเมินผลงาน ที่มีเอกสารหลักฐาน ครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถนำไปประกอบการพิจารณาได้ทันที โดยไม่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของผลงาน
- กรณี หากแก้ไขในสาระสำคัญของผลงาน หรือเพิ่มเติมผลงาน (ภายใน 3 เดือน) การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งย้อนหลัง จะทำได้ไม่ก่อนวันที่กองการเจ้าหน้าที่ได้รับผลงานที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว

กลุ่มสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง

A : ให้กรอกแบบแสดงความประสงค์ขอย้าย โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ หน้า Download แบบฟอร์ม แล้วจัดทำบันทึกแจ้งความประสงค์ขอย้ายพร้อมแนบแบบแสดงความประสงค์ขอย้าย เรียนผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น มายังกองการเจ้าหน้าที่ เพื่อนำเสนออธิบดีพิจารณา

A : ให้ติดต่อไปยังส่วนราชการที่ประสงค์จะโอนไป เนื่องจากขั้นตอนการโอนและแบบประสงค์ขอโอนของแต่ละส่วนราชการอาจไม่เหมือนกัน เมื่อส่วนราชการนั้นพิจารณาจะรับโอนแล้วจะมีหนังสือทาบทามการรับโอนมายังกรมฯ เพื่อให้พิจารณาการโอนต่อไป

A : ให้กรอกแบบแสดงความประสงค์ขอโอน (กรณีเป็นข้าราชการพลเรือน) หรือแบบหนังสือ ขอโอน (กรณีเป็นข้าราชการประเภทอื่น) โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ หน้า Download แบบฟอร์ม แนบสำเนาเอกสารตามที่แจ้งท้ายแบบฟอร์ม (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง) มายื่นด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ถึงกรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900

A : ไม่ได้ เนื่องจากระบบพนักงานราชการเป็นการจ้างตามความจำเป็นของภารกิจ ดังนั้น เมื่อมีการทำสัญญาจ้างให้พนักงานราชการปฏิบัติในหน่วยงานใด ก็ถือว่าได้มีการจ้างตามความจำเป็นของภารกิจเฉพาะของหน่วยงานนั้นแล้ว ระเบียบว่าด้วยพนักงานราชการ จึงไม่ได้กำหนดให้มีการย้ายหรือโอนไว้

A : ให้กรอกแบบหนังสือขอลาออกจากราชการ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ หน้า Download แบบฟอร์ม แล้วจัดทำบันทึกแจ้งความประสงค์ขอลาออกพร้อมแนบแบบหนังสือขอลาออกจากราชการ เรียนผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น มายังกองการเจ้าหน้าที่ เพื่อนำเสนออธิบดีพิจารณา ทั้งนี้ การลาออกจะต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ในกรณียื่นล่วงหน้าน้อยกว่า 30 วัน หากผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็น จะอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวันที่ขอลาออกก็ได้

กลุ่มทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ

A : สามารถให้บุคคลอื่นมารับแทนได้ แต่ต้องนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอสำเนา ก.พ. 7 ซึ่งมีการระบุมอบอำนาจให้บุคคลผู้มารับแทน(สามารถระบุการมอบอำนาจในเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนได้) พร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลผู้มารับแทนด้วย

A : ไม่มีสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลและค่าการศึกษาบุตร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้ ... "บุคคลในครอบครัว" หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีสิทธิ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น ...

A : ไม่ได้ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดให้เบิกได้เฉพาะบุตรลำดับที่ 1-3 เท่านั้น เว้นแต่บุตรคนใด คนหนึ่งในสามคนเสียชีวิตลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ จึงสามารถนำบุตรลำดับถัดไปมาใช้สิทธิได้

A : ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้บุคคลทุกคนซึ่งเป็นลูกจ้างที่ทำงานให้กับนายจ้างและได้รับ ค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนหรือเรียกชื่ออย่างอื่นใดก็ตาม จะต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และจะต้องใช้สิทธิของตนเองก่อนจึงจะสามารถใช้สิทธิของคู่สมรสในลำดับต่อไป เนื่องจากมีการกำหนด ไว้ในพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 มาตรา 10 วรรค 2

A : ราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะมีการเปลี่ยนแปลงราคาทุก ๆ 3 ปี

A : การรับบำเหน็จรายเดือนของลูกจ้างประจำ จะต้องมีเวลาราชการ 25 ปีขึ้นไป หรือกรณีที่ลูกจ้างประจำมีเวลาราชการตั้งแต่ 24 ปี 6 เดือนขึ้นไป หากต้องการจะลาออกก่อนเกษียณอายุ ก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จรายเดือนได้

A : ตามประกาศกรมพัฒนาที่ดิน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมพัฒนาที่ดิน ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2565 กำหนดให้ผู้ประเมินคือผู้บังคับบัญชา แบ่งตามระดับดังนี้
1. อธิบดีประเมินผู้อำนวยการกอง/สำนัก/ศูนย์/ผู้อำนวยการกลุ่มงานที่รายงานตรงต่ออธิบดี และผู้เชี่ยวชาญ
2. รองอธิบดีประเมินผู้อำนวยการกอง/สำนัก และผู้อำนวยการกลุ่มงานที่รับผิดชอบ
3. ผู้อำนวยการกอง/สำนัก ประเมินผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการกลุ่ม/ศูนย์/สถานีพัฒนาที่ดินและหัวหน้าฝ่าย
4. ผู้อำนวยการสำนัก/กอง เป็นผู้ประเมินข้าราชการในสังกัด โดยให้ผู้อำนวยการกลุ่ม/ศูนย์/ สถานีพัฒนาที่ดิน และหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้ให้ข้อมูลและความเห็นประกอบการประเมิน

A : การลาป่วยและลากิจส่วนตัว รวมแล้วไม่เกิน 23 วัน 10 ครั้ง/รอบการประเมิน แต่ไม่รวมถึงวันลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน หรือมาทำงานสายไม่เกิน 23 ครั้ง/รอบการประเมิน

A : กรณีที่ข้าราชการขอลาศึกษาและสำเร็จหรือยุติการศึกษาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นลาศึกษาต่างประเทศหรือในประเทศ ถ้าไม่เดินทางกลับประเทศไทยหรือกลับเข้าปฏิบัติราชการภายในเวลาที่กำหนดไว้ ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัยและดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๙ หรือไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการภายในเวลาที่กำหนดไว้ ในหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๑๓.๘.๕/ว๒๒ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ หากระยะเวลาล่วงเลยไปเกิน ๑๕ วัน ข้าราชการผู้นั้นอาจเข้าข่ายเป็นข้าราชการที่ขาดราชการเกิน ๑๕ วันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ข้าราชการผู้นั้นจะต้อง ถูกดำเนินการทางวินัย

A : ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และ ดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๙ กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ ว่า “ข้าราชการที่จะไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ต้องมี คุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ... (๒) เป็นผู้ที่มีวันรับราชการเป็นข้าราชการติดต่อกันมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี แต่ถ้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งส่วนราชการใดจะให้ข้าราชการที่มีวันรับราชการไม่ครบหนึ่งปีไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ก็ได้ แต่ ต้องเป็นผู้ที่พ้นการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้ว” ดังนั้น โดยหลักการ ข้าราชการ ที่ปฏิบัติราชการมายังไม่ครบ ๑ ปี จะขอลาศึกษาต่อไม่ได้ แต่มี ข้อยกเว้น ถ้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งส่วนราชการก็อาจอนุญาตได้ แต่ทั้งนี้ ข้าราชการผู้นั้นต้องพ้นการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้ว

กลุ่มวินัย

A : กรณี ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องคดีอาญาก่อนออกจากราชการ
1. ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่าขณะรับราชการได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
2. เป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น ผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาผู้นั้น หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ
3. ดาำนินการทางวินัยและสั่งลงโทษได้ภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
กรณี ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องคดีอาญาหลังออกจากราชการ
เงื่อนไขการถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องคดีอาญา เหมือนกรณีก่อนออกจากราชการ ตามข้อ 1. และข้อ 2. แต่การดำเนินการทางวินัยต้องเริ่มสอบสวนภายในหนึ่งปีและ ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
ดังนั้น หากไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว เช่น ข้าราชการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ส่วนราชการก็ไม่สามารถดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการผู้นั้นได้
(มาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

A : ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2482 กำหนดว่า ถ้าข้าราชการประจำ และข้าราชการบำนาญ ผู้ใดต้องหาในคดีอาญา หรือแพ่ง หรือคดีล้มละลาย ให้รายงาน เจ้ากระทรวงทบวงกรมในสังกัดทราบโดยด่วน ทั้งนี้ เพื่อให้กระทรวงทบวงกรมจะได้ทราบความเป็นไปของข้าราชการในสังกัด หากข้าราชการผู้นั้นไม่รายงานตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวอาจถูกดำเนินการทางวินัยฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการได้
(หนังสือกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ น. 826/2482 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2482 และมาตรา 82 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)

A : แนวทางปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พุทธศักราช 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดหลักเกณฑ์ “การรับราชการมาด้วยความเรียบร้อย” ซึ่งมีแนวทางการพิจารณาประการหนึ่ง ความสรุปว่า ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยกระทำผิดวินัย ถูกทำทัณฑ์บน หรือถูกว่ากล่าวตักเตือน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับราชการจนถึงปีที่เสนอขอพระราชทาน ดังนั้น กรณีนี้ส่วนราชการจึงไม่สามารถเสนอชื่อข้าราชการผู้นั้นเพื่อขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาได้
(หนังสือสานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0508/ว(ท) 2509 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2561)

A : โทษทางวินัยของข้าราชการมี 5 สถาน ตามลำดับดังนี้ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก และไล่ออก การไม่เลื่อนเงินเดือน จึงไม่ใช่โทษทางวินัย แต่หลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการมีเงื่อนไขประการหนึ่งว่า “ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์” ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการถูกลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน
(มาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และข้อ 8 (2) กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552)

A : หลัก ห้ามผู้ที่มิใช่พนักงานขับรถยนต์ ขับรถราชการโดยเด็ดขาด
ข้อยกเว้น เมื่อหน่วยงานใดขาดแคลนพนักงานขับรถยนต์เป็นการชั่วคราว ให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำในสังกัด ที่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ ทาบันทึกเสนออธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยอนุมัติได้ไม่เกิน 1 ปีงบประมาณ
(ข้อ 25 ของระเบียบกรมพัฒนาที่ดินว่าด้วยการใช้ และการควบคุมรถราชการ พ.ศ. 2559 และคาสั่งกรมพัฒนาที่ดินเรื่องมอบอานาจให้หัวหน่วยงานที่ใช้บังคับในขณะนั้น)

กลุ่มสวัสดิการและเจ้าหน้าที่สัมพันธ์

A : 1. เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ของกรมพัฒนาที่ดินที่มีอายุไม่เกิน 50 ปีบริบูรณ์
2. กรอกแบบฟอร์มใบสมัคร (สามารถโหลดแบบฟอร์มได้ที่หน้าเว็ปไซต์ กกจ.)
3. กรอกลายละเอียดให้ครบถ้วน ระบุผู้รับผลประโยชน์อย่างน้อย 2 คน
3. ค่าสมัคร 10.-บาท ค่าฌาปนกิจล่วงหน้า 100.- บาท
4. ส่งแบบฟอร์มใบสมัครมาที่ กลุ่มสวัสดิการฯ กองการเจ้าหน้าที่

A : คำร้องขอรับเงินสงเคราะห์สามารถรับได้ที่กลุ่มสวัสดิการฯ กองการเจ้าหน้าที่หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่หน้าเว็ปไซต์ กองการเจ้าหน้าที่

A : LINE @ร้านค้าสวัสดิการ ID : @117lvvxv หรือโทร. 1760 ต่อ 2170

A : 1. เจาะเลือด 5 เม.ย.66 (รอบใหญ่)
2. พบแพทย์ 2 พ.ค. 66 (รอบใหญ่)
3. เจาะเลือด 5 ก.ย.66 (รอบติดตาม1)
4. พบแพทย์ 8 ก.ย. 66 (รอบติดตาม1)
5. เจาะเลือด 9 ม.ค. 67 (รอบติดตาม2)
6. พบแพทย์ 12 ม.ค. 67 (รอบติดตาม2)

A : ในปี 2566 จัดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง
1. ครั้งที่ 1 วันที่ 21 มีนาคม 2566
2. ครั้งที่ ๒ วันที่ 20 มิถุนายน 2566
3. ครั้งที่ ๓ วันที่ 20 กันยายน 2566
4. ครั้งที่ ๔ วันที่ 19 ธันวาคม 2566

กลุ่มพัฒนาบุคคล

A : จะได้รับประกาศนียบัตร ก็ต่อเมื่อผ่านการอบรมของหลักสูตร โดยมีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ซึ่งผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และแจ้งรายละเอียดการจบหลักสูตร LDD e-Training ในระบบเท่านั้น ทั้งนี้จะได้รับประกาศนียบัตรภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่แจ้งรายละเอียดการจบหลักสูตร

A : สามารถเข้าไปเรียนหลักสูตร LDD e-Training วิชาซ้ำได้ (เพื่อได้รับความรู้/ความเข้าใจเพิ่มเติม) แต่เรียนวิชาซ้ำจะไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาความรู้ ได้

A : กรอบตัวชี้วัดเพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนระดับกอง/สำนัก รอบการประเมินที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กำหนดให้บุคลากรพัฒนาความรู้ 2 เรื่อง (ผ่านระบบ e-training 1 เรื่อง) และมีการสรุปบทเรียน 1 เรื่อง (เรื่องอะไรก็ได้ อาจจะเป็นการอบรม Onsite หรือ Online ก็ได้เช่นกัน) และส่งให้ผู้บังคับบัญชาทราบภายในวันที่ 5 ก.ย. 66

A : สามารถนำเรื่องที่ได้รับการ Coaching มาสรุปเรียนในการพัฒนาความรู้ได้

A : หน่วยงานต้องดำเนินการนำข้อมูลการสรุปความรู้ที่ผ่านการพิจารณาและคัดกรองแล้วขึ้นเว็บไซต์ของหน่วยงาน ภายในวันที่ 15 กันยายน 2566 และรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดตามแบบฟอร์ม ส่งกองการเจ้าหน้าที่ภายในกำหนด

กลุ่มคุ้มครองจริยธรรม

A : ไม่ต้องส่งมาที่ กกจ โดย สพข/สพด. ให้ส่งที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) ตามที่ สวจ.แต่ละจังหวัดกำหนด

A : ไม่จำกัด ไม่ระบุว่าใครต้องตอบ ทุกคนสามารถเข้าตอบได้ (ผู้ที่ปฏิบัติงานภายในกรมฯ มาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1ปี ปฏิบัติงานก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2565)

A : สมาชิกในองค์กรที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์ต้องลงลายมือชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร

A : เมื่อไม่ได้รับไว้ ก็ไม่ต้องระบุในรายงานการรับของขวัญฯ ยกเว้น แต่มีผู้ส่งมาให้ แล้วต้องมีการส่งคืนแก่ผู้ให้ในภายหลัง จึงจะแจ้งในรายงานฯ ในส่วนของการดำเนินการเกี่ยวกับของขวัญที่ได้รับว่า ส่งคืนแก่ผู้ให้ จำนวน 1 ครั้ง

A : ในปี 2566 การประเมินตนเองเป็นไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม และประมวลจริยธรรม เป็นหลัก นอกจากนี้ จะประมวลผล ในภาพรวมว่า เรื่องใดที่มีคะแนนประเมินน้อย รวมทั้งนำข้อเสนอแนะจากบุคลากรไปพัฒนาการดำเนินการด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในองค์กร

กองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน

2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02-941-2142
E-Mail : psd_2@ldd.go.th

สงวนลิขสิทธิ์ ©2566 โดยกองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน
Design by กองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน