กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมพัฒนาที่ดิน ยินดีให้บริการ และให้คำปรึกษาแก่อธิบดี เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม ขอบคุณค่ะ/ครับ
เมนู
รวมเว็บไซต์
หน่วยงานภายในกรม


  :.  กรมพัฒนาที่ดิน
    :.  กลุ่มตรวจสอบภายใน
    :.  
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
    :.  
สำนักงานเลขานุการกรม
    :.  
กองการเจ้าหน้าที่์   
    :.  
กองคลัง
    :.
 สำนักวิศวกรรมเพื่อการพัฒนา
        ที่ดิน

    :.  กองแผนงาน
    :.  สำนักเทคโนโลยีการสำรวจ
        และทำแผนที่

    :.  ศูนย์สารสนเทศ
    :.  สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการ
        ที่ดิน

    :.  สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนา
        ที่ดิน

    :.  สำนักสำรวจดินและวิจัย
        ทรัพยากรดิน

    :.  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
    :.  กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน

   :.




เว็บไซต์หน่วยงาน
ภายนอก







 

PMQA   การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ

      PMQA เป็นเกณฑ์ที่ประยุกต์มาจากเกณฑ์รางวัลคุณภากพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award หรือ MBNQA และได้กลายเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติให้กับประเทศ ต่างๆ หลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

________________________________________________________

PMQA คืออะไร

      การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) เป็นกรอบการบริหาร จัดการองค์การ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการนำไปใช้ในการประเมินองค์การด้วย ตนเองที่ครอบคลุม ภาพรวมในทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการ ให้เทียบเท่า มาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการปรับปรุงองค์การ อย่างรอบด้านและ อย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้ง 7 ด้าน ( หมวด ) คือ

      (1) การนำองค์การ เป็นการประเมินการดำเนินการของผู้บริหารในเรื่องวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ค่านิยม ความคาดหวังในผลการ ดำเนินการ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกระจายอำนาจการตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรมและการ เรียนรู้ในส่วนราชการ การกำกับดูแลตนเองที่ดี และดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน

      (2) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ เป็นการประเมินวิธีการกำหนดและ ถ่ายทอดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์หลัก และแผนปฏิบัติ ราชการ เพื่อนำไปปฏิบัติและวัดผลความก้าวหน้าของการดำเนินการ

      (3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการประเมินการกำหนดความต้องการ ความคาดหวัง และความนิยม ชมชอบ การสร้างความสัมพันธ์ และการกำหนดปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจ

      (4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ เป็นการประเมินการเลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูลและสารสนเทศ และการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์การ

      (5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล เป็นการประเมินระบบงาน ระบบการเรียนรู้ การสร้างความผาสุกและแรงจูงใจของบุคลากร เพื่อให้บุคลากรพัฒนาตนเองและใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ตามทิศทางองค์การ

      (6) การจัดการกระบวนการ เป็นการประเมินการจัดการกระบวนการ การให้บริการ และกระบวนการอื่นที่ช่วยสร้างคุณค่าแก่ผู้รับ บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกระบวนการสนับสนุน เพื่อให้บรรลุพันธกิจขององค์การ

      (7) ผลลัพธ์การดำเนินการ เป็นการประเมินผลการดำเนินการและแนวโน้มของส่วนราชการในมิติด้านประสิทธิผล มิติด้านคุณภาพ การให้บริการ มิติด้านประสิทธิภาพ และมิติด้านการพัฒนาองค์การ

 

    การประเมินองค์การตามเกณฑ์ PMQA ใช้แนวทางการบริหารจัดการแบบ ADLI1 โดยการตอบคำถามตามเกณฑ์ในแต่ละหมวด ซึ่งเปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพองค์การ ที่จะทำให้ทราบจุดแข็ง และโอกาสในการปรับปรุง และนำโอกาสในการปรับปรุงที่พบไปวางแผน พัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพ โดยเลือกเครื่องมือ ทางการบริหาร ที่เหมาะสมมาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการ พัฒนา องค์การในเรื่องต่างๆ เป็นไปอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ส่วนราชการมีระดับการบริหารจัดการ ที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล

 

แนวทางการดำเนินงาน PMQA เป็นอย่างไร

    สำนักงาน ก.พ.ร.ได้นำ PMQA มาใช้เป็นตัวชี้วัดกับหน่วยงานราชการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ในปี 2552 ได้พัฒนาเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐ ระดับพื้นฐาน ( Fundamental Level : FL) ซึ่งเป็นแนวคิด การปรับปรุง ทีละขั้น ได้วางแนวทางดำเนินการพัฒนาองค์การ ( PMQA Roadmap) ให้ผ่านเกณฑ์ฯ ปีละ 2 หมวด สำหรับกรม และจังหวัด และปีละ 3 หมวด
สำหรับสถาบันอุดมศึกษา

     สำหรับการดำเนินการขั้นต่อไปเมื่อส่วนราชการดำเนินการพัฒนาองค์การครบทุกหมวดและผ่านการรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหาร
จัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน ( Certify Fundamental; FL) แล้วสำนักงาน ก.พ.ร.จะส่งเสริมให้ส่วนราชการยกระดับคุณภาพการบริหาร จัดการ ภาครัฐตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาค รัฐระดับ ก้าวหน้า (Progressive Level : PL) 2 และเมื่อส่วนราชการสามารถ ดำเนินการ ผ่านเกณฑ์ฯ ระดับก้าวหน้า และพัฒนา องค์การอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่ง สู่ความเป็นเลิศ และยกระดับมาตรฐานให้เทียบเท่าสากล ตามเกณฑ์คุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐต่อไป

(1) Approach (A) มีแนวทางระบบ แบบแผน Deployment (D) นำไปใช้อย่างทั่วถึง Learning (L) เกิดการเรียนรู้ Integration (I) บูรณาการ เชื่อมโยงสอดคล้องกัน

(2) Progressive Level มุ่งเน้นให้ส่วนราชการบริหารจัดการองค์การอย่างเป็นระบบ (Systematic) มีการนำกระบวน การตามที่ กำหนดไว้อย่าง เป็นระบบไปสู่ การ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และทั่วถึง เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน (Sustainable) ของส่วนราชการ รวมทั้งมีการกำหนดตัวชี้วัด (Measurable) เพื่อใช้ควบคุม ติดตาม และประเมินผลการ ดำเนิน การและใช้เทียบเคียง เพื่อให้เกิด การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

     การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award :PMQA) PMQA เป็นเครื่องมือ การพัฒนาองค์การตามยุทธศาสตร์ หลักในการยกระดับ คุณภาพระบบราชการไทย ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถเทียบเท่า ระดับสากล การนำเครื่องมือนี้ ไปดำเนินการส่วนราชการ จะมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องตามเป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบราชการไทย

    (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) ที่ต้องการให้ส่วนราชการมีการปรับปรุงตนเองอย่างรอบด้านและต่อเนื่อง มีขีดสมรรถนะสูง มีวิสัยทัศน์และ ความรับผิด ชอบต่อสังคมให้ความ สำคัญกับประชาชน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งมอบบริการที่ดีให้กับประชาชนส่งเสริมให้ข้าราชการ พัฒนา ตนเอง มีความคิดริเริ่มและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง วางแผนและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศและทำงานโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามกรอบแนวคิดการพัฒนา และวงจร คุณภาพการบริการภาครัฐ

    ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เป็นการมุ่งเน้นให้หน่วยงานภาครัฐปรับปรุงองค์การ โดยการวัดความสำเร็จของการดำเนินการ เพื่อผ่าน เกณฑ์ คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานเป็นสำคัญโดยได้ดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมและการติดตามประเมินผลส่วน ราชการ ทั้งใน ระดับกรม จังหวัดและสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถพัฒนายกระดับคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ดังนี้

    1) การส่งเสริมสนับสนุนให้ส่วนราชการมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ได้แก่ จัดประชุมชี้แจงตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ภาครัฐ

    ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของส่วนราชการระดับกรม จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษา การจัดคลินิกให้คำปรึกษารายหน่วยงานการ ให้คำปรึกษาผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมทั้งจัดอบรมเสริมสร้างความรู้ให้แก่ที่ปรึกษาส่วนราชการในการพัฒนา องค์การ และให้ข้อมูลความรู้ ผ่านช่องทางเว็บไซต์เอกสารต่าง ๆ ของสำนักงาน ก.พ.ร. และตรวจติดตามประเมินผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดระดับ ความสำเร็จ ของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของหน่วยงานระดับกรม หรือ เทียบเท่า 137 กรม จังหวัด 75 จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษา 12 แห่ง

    2) จัดทำคู่มือและพัฒนาเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า เพื่อให้ส่วนราชการปรับปรุงระบบบริหารจัดการ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นกรอบการประเมินที่สามารถบ่งชี้ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ที่สอดคล้องกับหลัก เกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและสะท้อนให้เห็นถึงระดับการ พัฒนาของส่วนราชการรวมทั้งการพัฒนาโปรแกรม การตรวจรับรองการ ผ่านเกณฑ์ คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้ในการสอบทานเพื่อให้มั่นใจว่าส่วนราชการ มีความพร้อมในการบริหารจัดการ ระดับพื้นฐาน ก่อนที่จะก้าว ไปสู่ระดับการบริหารจัดการองค์การตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้าต่อไป

    3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรูปแบบสถาบัน โดยการจัดประชุมสัมมนา แลกเปลี่ยน เรียนรู้การดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระหว่างสมาชิกเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพ การบริหาร จัดการภาครัฐ จำนวน 2 สถาบัน (มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

    7.3 ตลอดระยะเวลา 8 ปี (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2553) แห่งการพัฒนาระบบราชการได้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ส่งผลให้ การพัฒนาองค์การ เป็นไปอย่างมีระบบ และต่อเนื่อง เน้นให้ความสำคัญกับประชาชนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อจัดทำ ยุทธศาสตร์ ให้สามารถสนองตอบต่อ ความต้องการความคาดหวังการนำ ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ มีการวัดทบทวนกำกับติดตาม งานอย่างเป็นระบบและปรับปรุงกระบวนการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ

 

 

อ้างอิง : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

 

 
  หน้าหลัก | ประวัติความเป็นมา | วิสัยทัศน์/ภารกิจ | โครงสร้างหน่วยงาน | แผนผังเว็บไซต์ | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา  

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมพัฒนาที่ดิน 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
Public Sector Development Group Of Land Development Department, Bangkok
สถิติคนเข้าชม