ประวัติความเป็นมา

ความเป็นมาของการตรวจสอบภายในภาคราชการ งานตรวจสอบภายในภาคราชการ

        งานตรวจสอบภายในภาคราชการ เริ่มมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 โดยระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. 2505 ได้กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งข้าราชการในหน่วยงาน 1 คนหรือหลายคน เป็นผู้ตรวจสอบภายใน รับผิดชอบในการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินรวมทั้งการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายของเจ้าของงบประมาณนั้น ๆ และตรวจสอบงานด้านอื่นตามที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายเป็นการภายใน และรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการอย่างน้อยเดือนละครั้ง และต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ข้อกำหนดเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในได้ถูกนำไปกำหนดไว้ในระเบียบการรับจ่าย การเก็บรักษา และการนำส่งเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2516 แทน โดยกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการซึ่งไม่ต่ำกว่าชั้นตรีอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการตรวจสอบการเงินประจำเดือนทุกเดือน และมีการแก้ไขปรับปรุงในปี พ.ศ. 2520 โดยเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในจากเดิมที่กำหนดให้ทำงานในลักษณะของคณะกรรมการการตรวจสอบการเงิน เป็นแต่งตั้งข้าราชการอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการนั้น หรือของส่วนราชการในส่วนภูมิภาคในจังหวัดนั้น แล้วแต่กรณี

        พ.ศ. 2519 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เทียบเท่า รวมถึงจังหวัดทุกจังหวัดมีตำแหน่ง อัตรากำลัง เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการหรือของจังหวัดโดยเฉพาะ โดยให้ปฏิบัติงานขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบในการฝึกอบรม

        พ.ศ. 2531 - 2532 กระทรวงการคลังได้พิจารณาเห็นสมควรให้มีการส่งเสริม สนับสนุน และผลักคันให้ส่วนราชการมีการตรวจสอบภายในที่เป็นระบบเพื่อสามารถเป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการตรวจสอบ ติดตามการปฏิบัติงานของส่วนราชการในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับข้อกำหนดเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในในระเบียบการรับ จ่าย การเก็บรักษา และการนำส่งเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ยังไม่ครอบคลุมถึงขอบเขต หน้าที่ความรับผิดชอบที่แท้จริงของการตรวจสอบภายใน จึงได้ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในในระเบียบดังกล่าว และนำมากำหนดเป็นระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2532 (ซึ่งได้มีการปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2542)

        ในปลายปี พ.ศ. 2541 ถึงต้นปี 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังให้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำกระทรวงเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในในภาพรวมของกระทรวง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในให้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารในการควบคุม ติดตาม การใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน งาน / โครงการต่าง ๆ และให้จัดตั้งกลุ่มงานตรวจสอบภายในระดับกระทรวง เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการและทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในของกระทรวงโดขมุ่งเน้นการตรวจสอบงานโครงการที่มีความสำคัญ หรือที่มีความเสี่ยงสูง หรือที่มีสัญญาณบอกเหตุว่าอาจจะมีความเสียหายเกิดขึ้น โคยประสานแผนการตรวจสอบกับหน่วยตรวจสอบภายในระดับกรม เพื่อให้การ ตรวจสอบมีขอบเขตงานที่ กว้างขวางและไม่ซ้ำซ้อนกัน

แนวความคิด หลักการและเป้าหมาย

        1.1 การตรวจสอบภายในมีความจำเป็นสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน โดยถือว่าเป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการบริหารงานทั้งในภาคเอกชนและภาคราชการ ซึ่งเดิมจะเน้นเฉพาะการตรวจสอบทางด้านการเงิน การบัญชี สำหรับหน้าที่งาน 3 ลักษณะ คือ

        - การตรวจสอบ

        - การติดตาม

        - การประเมินผล

        1.2 ในปัจจุบันได้เน้นเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด ในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ จึงเพิ่มการตรวจสอบภายในด้าน

        - การตรวจสอบการปฏิบัติงาน

        - การตรวจสอบการบริหาร

         การตรวจสอบภายในของส่วนราชการ จะยึดถือหลักการเพื่อให้ปฏิบัติงานตรวจสอบได้บรรลุตามแนวคิดข้างต้น 3 ประการ ดังต่อไปนี้

        2.1 มีอำนาจที่จะเข้าตรวจสอบ คือการที่ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องได้รับมอบอำนาจเพียงพอที่จะเข้าสังเกต หรือตรวจสอบในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตรวจสอบได้ทั้งหมด

        2.2 เสรีภาพในการตรวจสอบ คือความเป็นอิสระของผู้ตรวจสอบภายในในการตรวจสอบทุกๆ ด้าน

        2.3 ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องไม่มีอำนาจและความรับผิดชอบโดยตรงกับงานที่ทำการตรวจสอบสอบ

        เพื่อให้งานตรวจสอบภายในเป็นไปตามแนวคิดและหลักการตามข้อ1 และ 2 ดังกล่าว จึงควรให้หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ตรวจสอบภายใน หน่วยรับตรวจ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าใจถึงระบบการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ ดังนี้

3.1 โครงสร้างการจัดองค์กร
3.2 สายการบังคับบัญชา
3.3 ตำแหน่งและอัตรากำลัง
3.4 ขอบเขตการปฏิบัติงาน
3.5 หน้าที่ความรับผิดชอบ
3.6 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
3.7 ผลงานของผู้ตรวจสอบ

วิสัยทัศน์(Vision)

มุ่งเสริมสร้าง สนับสนุนให้มีการปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมเพื่อให้การดำเนินงาน ของกรมพัฒนาที่ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและ ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับหน่วยงาน

1.ดำเนินการเกี่ยวกับปฏิบัติงานตรวจสอบดำเนินการเงิน การบัญชี การบริหารงบประมาณ
การบริหารพัสดุและการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการของหน่วยภายใต้สังกัดกรมพัฒนาที่ดิน
2.ดำเนินการสอบทานและประเมินผลระบบการควบคุมภายในกรมพัฒนาที่ดิน
3.ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับกรมพัฒนาที่ดิน
4.ประสานงานปรึกษาหารือร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในระดับกระทรวงและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
5.ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ปฏิบัติงานตรวจสอบ
1.1 การตรวจสอบทางการเงิน (Financial Auditing)
1.2 การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบ(Compliance Auditing)
1.3 การตรวจสอบการปฏิบัติงาน (Operational Auditing)
1.4 การตรวจสอบผลการดำเนินงาน (PerformanceAuditing)
1.5 การตรวจสอบสารสนเทศ (Information Technology Auditing)
1.6 การตรวจสอบการบริหาร (Management Auditing)
2.การให้คำปรึกษา(Consult)แก่หน่วยรับตรวจ จะต้องแสดงขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

อำหนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

1.ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหารการเงินและการบัญชีของกรม
2.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบปฏิบัติงานด้าน การบริหารงบประมาณ การบริหารการเงินและบัญชีและการบริหารพัสดุและทรัพย์สินของทางราชการ ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับคำสั่งมติคณะรัฐมนตรี และนโยบายรวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพและประหยัดเสนอแนะวิธี หรือมาตรการในการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ ประสานงานกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กับงานตรวจสอบภายใน ตามที่ได้รับมอบหมาย

ยุทธศาสตร์

1.พัฒนาการบริหารจัดการระบบงานตรวจสอบภายในให้เป็นมาตรฐาน อย่างมีคุณภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานตรวจสอบภายใน
2.เสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติงานการตรวจสอบภายใน ตามมาตรฐานสากล

แนวทางการพัฒนา

1.วิเคราะห์งานตรวจสอบภายในเพื่อจัดทำระบบงานให้เหมาะสมกับ ภารกิจ กิจกรรม/โครงการตามแผนงานกรมพัฒนาที่ดิน 2.ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ตรวจสอบภายในเข้ารับการอบรม
ในโครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในภาครัฐ – กรมบัญชีกลาง (Certified Internal Auditor – CGIA) ทุกระดับประกอบด้วย
- ระดับพื้นฐาน (Fundamental) จำนวน 9 หัวข้อวิชา
- ระดับกลาง (Intermediate) จำนวน 4 ส่วนย่อยวิชา
- ระดับสูง (Advance) จำนวน 4 ส่วนย่อย และระดับรวบยอด (Comprehensive)

เป้าประสงค์และวัตถุประสงค์

1.กลุ่มตรวจสอบภายในมีระบบการบริหารจัดการ งานตรวจสอบภายในเป็นไปตามมาตรฐาน และเกณฑ์การประกันคุณภาพ
2.ผู้ตรวจสอบภายในมีผลการปฏิบัติงานเป็นที่น่าเชื่อถือ และมีคุณภาพตามสายงานวิชาชีพเป็นที่ยอมรับ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

1.พัฒนาคุณภาพการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษา ให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานการตรวจสอบภายภายใน
2.ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล(Good Governance)

ปรัชญา/ปณิธาน

“พัฒนางานตรวจสอบ เพิ่มมูลค่าให้องค์กร”

ปฏิบัติหน้าที่งานตรวจสอบภายในด้วยความเชี่ยวชาญระมัดระวังรอบคอบ เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเป็นอิสระ และเที่ยงธรรมตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ