การให้เงินกู้สามัญสำหรับสมาชิกสมทบที่เป็นพนักงานราชการ |
ข้อกำหนด |
|
สหกรณ์ให้เงินกู้แก่สมาชิกสมทบที่เป็นพนักงานราชการ
2 ประเภท คือ |
|
|
1. |
เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน |
|
|
2. |
เงินกู้สามัญ |
|
|
3. |
เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินและเงินกู้สามัญโดยใช้บุคคลค้ำประกัน
รวมทั้ง 2 ประเภท ต้องไม่เกิน 100,000 บาท |
เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน |
|
|
1. |
เป็นสมาชิกสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า
6 เดือน |
|
|
2. |
กู้ได้ครั้งละครึ่งหนึ่งของเงินได้รายเดือน
สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ผ่อนชำระได้ 2 งวด |
|
|
3. |
การกู้แต่ละครั้งจะต้องไม่มีหนี้เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินตามสัญญาก่อนค้างอยู่
(ต้องชำระหนี้ของสัญญาแรกให้หมดก่อน) |
|
|
4. |
สหกรณ์จะเรียกเก็บเงินชำระหนี้จากเงินเดือนของผู้กู้ตามกำหนดเวลา
หากสมาชิกประสงค์จะชำระหนี้ก่อนสหกรณ์เรียกเก็บ สามารถกระทำได้โดยต้องติดต่อชำระหนี้ที่ทำการสหกรณ์โดยตรง |
|
|
|
|
เงินกู้สามัญ |
|
คุณสมบัติของผู้กู้
ดังนี้ |
|
|
1. |
เป็นสมาชิกสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า
6 เดือน |
|
|
2. |
ต้องส่งค่าหุ้นเดือนละไม่น้อยกว่า
500 บาท โดยการหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
6 เดือน และต้องชำระค่าหุ้นทุกเดือน ตลอดระยะเวลาที่ยังมีหนี้เงินกู้อยู่กับสหกรณ์
(ยกเว้นกรณีกู้ไม่เกินร้อยละ 90 ของทุนเรือนหุ้น หรือเงินฝากที่มีอยู่กับสหกรณ์) |
|
|
3. |
ต้องมีทุนเรือนหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ
20 ของจำนวนเงินกู้ ทั้งนี้ กรณีทุนเรือนหุ้น ไม่เป็นไปตามที่กำหนด
สามารถระดมหุ้นได้โดยหักจากยอดเงินกู้ที่จะได้รับ |
|
|
4. |
ในกรณียื่นกู้ใหม่ต้องชำระหนี้เงินกู้มาแล้วไม่น้อยกว่า
6 งวดเดือน |
|
วงเงินกู้ |
|
|
5. |
จำนวนเงินกู้สามัญที่ให้ผู้กู้คนหนึ่งๆ
นั้น ย่อมสุดแต่คณะกรรมการเงินกู้พิจารณาเห็นสมควร ทั้งนี้ กู้ได้ไม่เกิน
10 เท่าของเงินได้รายเดือนของผู้กู้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ต้องอยู่ภายในวงเงินที่กำหนดจะต้องมีผู้ค้ำประกัน
ดังนี้ |
|
|
|
5.1
กรณีกู้ 10 เท่าของเงินได้รายเดือนของผู้กู้ จำนวนเงินกู้สูงสุดไม่เกิน
50,000 บาท ต้องมีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์กรมพัฒนาที่ดินอย่างน้อย
1 คน เป็นผู้ค้ำประกันการกู้สามัญ |
|
|
|
5.2
กรณีกู้ 10 เท่าของเงินได้รายเดือนของผู้กู้ จำนวนเงินกู้ตั้งแต่
50,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ต้องมีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์กรมพัฒนา-ที่ดิน
อย่างน้อย 2 คน เป็นผู้ค้ำประกันการกู้สามัญ |
ในกรณีผู้กู้ที่กู้ไปแล้วยังกู้ไม่เต็มสิทธิ์
ประสงค์จะขอกู้เพิ่มใหม่ให้เต็มสิทธิสามารถกู้ได้ภายในวงเงินที่กำหนด |
เงินเดือนคงเหลือ |
เมื่อรวมยอดเงินที่ต้องชำระต่อสหกรณ์ทุกประเภทแล้วผู้กู้จะต้องมีเงินได้รายเดือนคงเหลือ
1,500 บาท |
การค้ำประกันเงินกู้ |
|
|
1. |
จำนวนเงินกู้สามัญไม่เกินร้อยละ
90 ของทุนเรือนหุ้นที่ผู้กู้มีอยู่กับสหกรณ์ หรือไม่เกินร้อยละ
90 ของเงินฝากออมทรัพย์พิเศษที่ผู้กู้มีอยู่กับสหกรณ์ หรือไม่เกินร้อยละ
90 ของทั้งสองอย่างรวมกันเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
|
|
2. |
ผู้กู้จะต้องชำระหนี้เงินกู้สามัญโดยใช้หุ้นหรือเงินฝากค้ำประกันเป็นงวดรายเดือน
ไม่เกิน 180 งวด |
|
|
3. |
จำนวนเงินกู้สามัญเกินกว่าร้อยละ
90 ของทุนเรือนหุ้นหรือเกินกว่าร้อยละ 90 ของเงินฝากออมทรัพย์พิเศษที่ผู้กู้มีอยู่กับสหกรณ์
ผู้กู้ต้องมีหลักประกันตามที่สหกรณ์กำหนด |
|
|
4. |
สมาชิกที่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ
เมื่อค้ำประกันสมาชิกสามัญ 2 คน แล้ว สามารถค้ำประกันการกู้ของสมาชิกสมทบที่เป็นพนักงานราชการได้อีก
1 คน |
|
|
5. |
จำนวนเงินกู้สามัญตั้งแต่
50,000 บาทขึ้นไป ต้องทำประกันชีวิตกลุ่ม |
การผ่อนชำระเงินกู้ |
|
|
1. |
ระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ไม่เกิน
48 งวดเดือน หรือ 4 ปี โดยผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในอัตราคงที่เท่ากันทุกเดือน |
|
|
2. |
กรณีสมาชิกสมทบค้างส่งเงินงวดชำระหนี้ถึง
2 งวดเดือน ติดต่อกันโดยไม่ชี้แจง สหกรณ์จะยึดหุ้นหรือเงินฝากที่ใช้ค้ำประกันชำระหนี้โดยอัตโนมัติ
และหากมีหนี้เหลือ ผู้กู้และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบจนกว่าหนี้ทั้งหมดจะได้รับการชำระ |
|
|
3. |
เมื่อสมาชิกสมทบที่เป็นพนักงานราชการจะออกจากราชการ
หรือโยกย้ายออกจากกรมพัฒนาที่ดิน หรือออกจากการเป็นสมาชิกจะต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบและจัดการชำระหนี้สินที่มีอยู่กับสหกรณ์ให้เสร็จสิ้นก่อน |
อัตราดอกเบี้ย |
อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของสหกรณ์ |
|
|
|
|