::  ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรที่ดิน ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ::
1. ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร และเครือข่ายงานพัฒนาที่ดิน มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1) ถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนส่งเสริมการใช้ที่ดิน การปรับปรุงบำรุงดิน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้พอเพียง รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร จัดหาปัจจัยการผลิตในการปรับปรุงบำรุงดิน และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้สารอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตร/
เกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าเกษตร
 
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ระบบรับรองมาตรฐานสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
 
 
 
2)
ให้บริการวิเคราะห์ดิน และข้อมูลสารสนเทศทางดิน พร้อมทั้งให้คำแนะนำถ่ายทอดความรู้
ด้านการพัฒนาที่ดิน และสนับสนุนปัจจัยการปรับปรุงบำรุงดิน และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี ชีวภาพทางดิน
เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ และให้เกษตรกรนำไปใช้และผลิตเพื่อใช้ได้เองต่อไป
 
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ฐานข้อมูลรายงานผลวิเคราะห์ตัวอย่างดิน
2.
ฐานข้อมูลดินดี ชีวีปลอดภัย
3.
ฐานข้อมูลโลหะหนักและกัมมันตรังสี
4.
ฐานข้อมูลบัญชีธาตุอาหารในดินตามผลการวิเคราะห์ดินเกษตรกร
5.
ฐานข้อมูลบันทึก Stock วัสดุการเกษตร
6.
ฐานข้อมูลระบบบริการประชาชน
 
3)
สนับสนุนโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านต่างๆ
4)
สร้างเครือข่ายหมอดินอาสาและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนพัฒนาต่อยอด
 
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ฐานข้อมูลหมอดินอาสา
 
5)
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งชุมชนเมือง และชนบทให้เกิดความเข้มแข็งเพื่อรองรับการพัฒนาที่ดิน เสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ที่ดิน และรักษาสภาพแวดล้อมอย่างเกื้อกูลกัน โดยให้หมอดินอาสาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาที่ดินในชุมชนอย่างทั่วถึง
 
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ฐานข้อมูลหมอดินอาสา
 
6)
พัฒนาวิทยากรระดับพื้นที่ของกรมฯ วิทยากรหมอดิน เพื่อสร้างเครือข่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน
 
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ฐานข้อมูลหมอดินอาสา
 
  
  
2. ยุทธศาสตร์เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่ทำการเกษตรให้มีความอุดมสมบูรณ์  มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1)
จัดทำเขตการใช้ที่ดิน (Zoning) ในการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม ทั้งในระดับตำบล ลุ่มน้ำ และภาค
2)
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม โดยจัดทำเขตพัฒนาที่ดิน จัดทำแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ สระน้ำในไร่นา เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ เพื่อการเกษตร เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดิน และใช้น้ำในการแก้ไขดินปัญหา รวมทั้งบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสาธิตให้เกษตรกรเห็นประโยชน์ของการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ปรับปรุงบำรุงดิน และพัฒนาทรัพยากรดิน ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
 
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ฐานข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็ก
2.
ฐานข้อมูลโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน
3.
โปรแกรมการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง (โปรแกรม Offline) 
   
3)
มุ่งพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการลดใช้สารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่เกษตรกรรม อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รวมทั้งการปรับปรุงบำรุงดิน ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัย ตลอดจนขยายพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่
 
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ฐานข้อมูลเกษตรที่ทำเกษตรอินทรีย์/เกษตรลดใช้สารเคมี
2.
โปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืช (โปรแกรม Offline) 
   
 
4)
สนับสนุนการดำเนินงานโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยสร้างทีมงานชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารโรงงาน และขยายการใช้ประโยชน์เพื่อสร้างฐานการผลิตด้านที่ดินทำการเกษตรให้ปลอดภัย และใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่กลับคืนสู่ผืนดิน
5)
ป้องกันและบรรเทาภัยธรรมชาติ อุทกภัย โลกร้อน พื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดดินถล่ม พื้นที่ทิ้งร้าง พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พื้นที่แล้งซ้ำซาก โดยกำหนดพื้นที่และดำเนินการให้มีการใช้ที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งการเตือนภัยและฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน
 
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ระบบข้อมูลเตือนภัย
2.
ภาวะโลกร้อนจากภาคเกษตรกรรม (โปรแกรม ThaiCO2)
 
  
  
3. ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นเลิศของงานวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1)
ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาสร้างนวัตกรรมการพัฒนาที่ดิน นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และผลิตภาพของสินค้าเกษตร ลดต้นทุนการผลิต
2)
สร้างระบบการทำงานวิชาการทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้เกิดการบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และนำผลงานวิจัยไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3)
พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ การจัดการทรัพยากรที่ดิน เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินและเทคโนโลยีการสำรวจและทำแผนที่ให้ครบถ้วน ทันสมัย และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาที่ดิน
 
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ (อ้างอิงตามยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 2)
2.
ระบบบริการแผนที่และข้อมูลภาพถ่ายออร์โธสี
3.
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
 
-
โปรแกรมระบบฐานข้อมูลกลุ่มชุดดินและชั้นความเหมาะสมของดิน สำหรับปลูกพืช (SoilView 3.0)
 
-
โปรแกรมแผนปฏิบัติการพัฒนาทรัพยากรดิน (LandPlan 3.0)
 
-
โปรแกรมระบบสนับสนุนการจัดการดิน ปัญหาในประเทศไทย (SoilMan 1.1)
 
-
โปรแกรมการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย (ErosView 1.0)
 
-
โปรแกรมสนับสนุนการกำหนดเขตปลูกพืชเศรษฐกิจ (AgZone 3.0)
 
-
โปรแกรมระบบฐานข้อมูลชุดดิน (ThaiPedon 1.0)
 
-
โปรแกรมระบบสนับสนุนการจัดทำหมู่บ้านพัฒนาที่ดิน (CondPlan)
 
-
โปรแกรมสืบค้นแผนที่ป่าไม้ถาวร (Permanent Forest 1.0)
 
-
โปรแกรมประเมินคุณภาพสำหรับพืชเศรษฐกิจ (LandSuit 1.2)
 
-
โปรแกรมประเมินคุณภาพดิน เพื่อการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก (FramPond 1.0)
4)
ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาต่อยอดทางด้านวิชาการ
5)
สร้างเครือข่ายการถ่ายทอดองค์ความรู้ และส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เชิงรุก ด้านการพัฒนาที่ดินให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการตระหนักในการรักษาทรัพยากรที่ดิน  
ระบบ e-Learning   ประกอบด้วย 10 บทเรียน ดังนี้
 
-
การผลิตปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1
 
-
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2
 
-
การผลิตสารป้องกันแมลงและศัตรูพืช โดยใช้สารเร่ง พด.7
 
-
การผลิตจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช โดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3
 
-
การผลิตสารบำบัดน้ำเสีย และขจัดกลิ่นเหม็น โดยใช้สารเร่ง พด.6
 
-
หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
 
-
การเก็บตัวอย่างดินและวิเคราะห์ดินอย่างง่ายด้วยตัวเอง
 
-
ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เพิ่มธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช
 
-
ดินเปรี้ยวแก้ไขได้สบายมาก
 
-
การแก้ไขดินเค็ม
 
 
  
  
4. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
4.1
พัฒนาระบบงานและสมรรถนะของข้าราชการ
 
1)
ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรโดยยึดหลักสมรรถนะ (Competency) ให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดการความรู้ (Knowledge Management) สร้างคลังข้อมูลความรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายแห่งการเรียนรู้อย่างเป็นธรรม
   
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ระบบ e-Learning   ประกอบด้วย 10 บทเรียน ดังนี้
 
-
การผลิตปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1
 
-
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2
 
-
การผลิตสารป้องกันแมลงและศัตรูพืช โดยใช้สารเร่ง พด.7
 
-
การผลิตจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช โดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3
 
-
การผลิตสารบำบัดน้ำเสีย และขจัดกลิ่นเหม็น โดยใช้สารเร่ง พด.6
 
-
หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
 
-
การเก็บตัวอย่างดินและวิเคราะห์ดินอย่างง่ายด้วยตัวเอง
 
-
ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เพิ่มธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช
 
-
ดินเปรี้ยวแก้ไขได้สบายมาก
 
-
การแก้ไขดินเค็ม
 
2)
ยกระดับ และปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการของกรม ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน การทำงานสู่ระดับมาตรฐานสากล (PMQA) โดยมีความเชื่อมโยง สอดคล้อง และบูรณาการอย่างเป็นระบบ อันได้แก่ การนำองค์กร การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์การดำเนินงาน
 
3)
พัฒนาข้าราชการในตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการ รวมทั้งวางมาตรการสำหรับประเมินผลการปฏิบัติงาน และจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจ และแรงจูงใจในการพัฒนาผลงาน
   
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (Version 4.0) ของสำนักงาน กพ.
   
 
4)
พัฒนาบุคลากรทุกสายงานให้มีความเป็นเลิศในการสร้างนวัตกรรม และ
องค์ความรู้ที่สามารถนำไปจัดระบบการถ่ายทอดอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำไปพัฒนาทรัพยากรที่ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน
 
5)
พัฒนานักวิจัยที่มีอยู่ให้มีศักยภาพสูงขึ้น สามารถสร้างนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงตรงตามความต้องการเพื่อพัฒนาที่ดิน เพิ่มผลิตภาพการผลิต ทางการเกษตรนำไปสู่การพึ่งตนเองในระยะยาว และเชิงพาณิชย์ กำหนดมาตรการจูงใจที่สนับสนุนให้นักวิจัยสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ พัฒนากระบวนการถ่ายทอดความรู้ ยกย่องนักวิจัยที่มีผลงาน
 
6)
เพิ่มพูนความรู้ และทักษะพื้นฐานในการทำงานทั้งการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์แก้ปัญหา ตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้สามารถรองรับและปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
   
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
   
4.2
เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม
 
1)
พัฒนาความโปร่งใส ในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบของข้าราชการ
   
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
ระบบบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ GFMIS)
 
2)
ส่งเสริมให้ข้าราชการยึดถือหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล โดยให้การรับราชการแบบมืออาชีพ ตลอดจนมีสมรรถนะขีดความสามารถในการให้บริการประชาชน ตามแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” สามารถให้ความเห็น และข้อเสนอแนะตามหลักวิชาการ ปลูกฝังให้มีจิตสำนึกสาธารณะ และพร้อมรับการตรวจสอบจากภาคประชาชน และภาคอื่นๆ
 
3)
สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งภายใต้หลักการยึดพื้นที่-ภารกิจ-การมีส่วนร่วม ตลอดจนขยายผลการให้บริการ
 
4)
มุ่งดำเนินการตามหลักการ 6 ประการของการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) คือ
   
4.1)
ความคุ้มค่า : บริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
   
4.2)
นิติธรรม : ให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม โดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ของสมาชิก
   
4.3)
คุณธรรม : ความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต
   
4.4)
สำนึกรับผิดชอบ : การตระหนักในสิทธิ หน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม ใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง
   
4.5)
การมีส่วนร่วม : ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจ  
   
4.6)
ความโปร่งใส : กลไกการทำงานขององค์กรเปิดเผย และตรวจสอบได้
   
ฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์
1.
Web Site ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
   
  5) วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture)สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ให้เกิดความรู้รัก สามัคคี ร่วมกันตลอดไป ดังนี้
   
5.1)
ให้ความเคารพผู้อาวุโส และยกย่องคนดี
   
5.2)
มีความรัก และความสามัคคีในองค์กร
   
5.3)
มีความรับผิดชอบต่อองค์กร
   
5.4)
มีความเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น  
   
5.5)
ทำงานเป็นทีมโดยยึดเป้าหมายงานเป็นหลัก
  6) ค่านิยมองค์กร (Core Values) สร้างค่านิยมในการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อให้เกิดความมั่นคงในหน้าที่การงาน และการดำรงตน ดังนี้
   
6.1)
ให้มีความรัก หวงแหน และรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร
   
6.2)
เชื่อมั่นในคุณค่าของบุคลากรและความเป็นเลิศทางวิชาการ
   
6.3)
ตั้งมั่นในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล
   
6.4)

ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน

 
   
6.5)
มุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันโดยยึดเป้าหมายงานเป็นหลัก  
   
6.6)
ยึดมั่นในการดำรงตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง