โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง
 
            ตั้งอยู่ ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ค่าพิกัด X = 580000-584000 Y = 1393000-1399000 ในระบบ WGS 84 บนแผนที่ประเทศไทย มาตราส่วน 1 : 50,000 ลำดับชุด L7018 ระวาง 4934 II , III มีเนื้อที่ประมาณ 10,300 ไร่

 
   พื้นที่โครงปลูกป่าชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง
 

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชดำริที่จะพระราชทานป่าไม้ให้กับปวงชนชาวไทย เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงครองราชย์ได้ 50 ปี เพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงมีพระราชดำริ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ให้ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยให้มูลนิธิชัยพัฒนาและมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ร่วมกันดำเนินการปลูกป่าเพื่อพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทย โดยให้มีหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน เข้ามาร่วมดำเนินการ ส่วนการดำเนินงานโครงการฯ นั้น ระมัดระวังอย่าให้มีผลกระทบกับปัญหาที่ดินทำกินของชาวบ้าน และในพื้นที่โครงการปลูกป่า ให้ปลูกแฝกเสริมไปด้วย

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินที่ศูนย์ศึกษาห้วยทราย เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2535 ในโอกาสนี้ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดินได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชดำริ ในการนำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้ในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาหญ้าแฝก ได้ทรงมีพระราชดำริ ให้กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกันดำเนินการและได้มีพระราชดำริ เมื่อปี พ.ศ. 2535 ในเรื่องการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการฯ นี้โดยให้พิจารณาพื้นที่ตอนบนด้วยว่า อาจสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กๆ ได้ ต่อมามูลนิธิชัยพัฒนาและมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้พิจารณาเลือกพื้นที่โครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ ส่วนดังกล่าวเป็นพื้นที่ปลูกป่าพระราชทาน โดยให้ชื่อว่า “โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง”

        
   ทรงศึกษาเรื่องดินในพื้นที่ โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง
        
   อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน นายชัยวัฒน์ สิทธิบุศย์ กราบบังคมทูลรายงาน การใช้สารเร่ง พ.ด.
 

1.

เพื่อการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ทั้งในด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ ดิน รวมทั้งสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ให้บังเกิดความสมบูรณ์แก่แผ่นดิน โดยการปลูกป่า และจัดทำสวนพฤกษศาสตร์ควบคู่กับการอนุรักษ์ดินและน้ำ ฟื้นฟูคุณภาพดินโดยใช้หญ้าแฝก และการจัดหาแหล่งน้ำ
2.
เพื่อเสริมสร้างทัศนคติและความสำนึกรับผิดชอบที่ดีงามต่อประเทศชาติ ให้กับประชาชนในท้องถิ่น และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตามโครงการให้มากที่สุด
3.
เพื่อจัดทำฐานข้อมูล ด้านทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ และสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางแผนการใช้ที่ดิน แผนการดำเนินงาน ตลอดจนกิจกรรมดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณ สำหรับใช้ประโยชน์ในการวางแผนการจัดการพื้นที่โครงการฯ
4.
เพื่อนำผลงานการศึกษาทดลอง จากศูนย์การศึกษาพัฒนาและโครงการต่างๆ ตามพระราชดำริมาขยายผล
5.
เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับหญ้าแฝกตามพระราชดำริ
6.
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้า แก่เกษตรกร และประชาชนที่สนใจทั่วไป
 

1.

การเตรียมพันธุ์หญ้าแฝก การปลูกหญ้าแฝกในแปลง การขยายพันธุ์หญ้าแฝก การศึกษาหญ้าแฝก
2.
การปรับปรุงบำรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด ทำปุ๋ยหมัก
3.
ก่อสร้างและซ่อมแซมทางลำเลียง
4.
การก่อสร้างบ่อดักตะกอน และขุดลอกบ่อดักตะกอนในโครงการฯ
แปลงรวบรวมสายพันธุ์หญ้าแฝก
สาธิตการทำปุ๋ยหมัก
ปรับปรุงซ่อมแซมทางลำเลียง
ก่อสร้างบ่อดักตะกอน