โครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำ น้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
 
            พื้ตั้งอยู่ที่ บ้านวังกวาง หมู่2 ตำบลวังกวาง บ้านหลักด่าน หมู่ 1, 2, 3 ตำบลหลักด่าน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ระหว่างค่าพิกัด X = 761407 – 792287 และระหว่างค่าพิกัด Y = 1843884 - 1886763 ในระบบ WGS84 บนแผนที่ประเทศไทย ลำดับชุดที่ L7018 ระวางแผนที่ 5242 I,II 5243 II 5342 I,II,III,IV 5342 II,III มีพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ 280,625 ไร่

   สภาพการใช้พื้นที่อำเภอน้ำหนาว
 

          ในพื้นที่อำเภอน้ำหนาวนั้นเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และยังถูกกำหนดให้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำที่สำคัญในชั้น 1A นั้นมีความสำคัญยิ่ง เพราะโดยข้อเท็จจริงในเขตป่าสงวนแห่งชาติน้ำหนาวแห่งนี้ ได้มีการจัดตั้งบ้านเรือนและมีการทำกิน , บุกรุกทำลายป่าเป็นจำนวนมากและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่ถูกวิธีบนพื้นที่ลาดชันภูเขาสูงมาเป็นระยะยาวนาน จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพลุ่มน้ำ และรูปแบบการเพาะปลูกพืชของราษฎรก็มุ่งปลูกพืชพาณิชย์เป็นหลัก เช่น ข้าวโพด ขิง ซึ่งเป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นให้เกิดความเสียหายต่อลุ่มน้ำและสภาพแวดล้อมมากขึ้นด้วย

          ในปีพ.ศ. 2544 แกนนำราษฎรอำเภอน้ำหนาวจำนวน 200 คน ไปศึกษาดูงานและเข้ารับการอบรมรูปแบบการพัฒนาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อการเรียนรู้และนำรูปแบบความรู้เพื่อไปใช้ในการแก้ไขปัญหา และหลังจากนั้นสำนักงาน กปร. และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ได้เดินทางไปติดตามเยี่ยมชมสภาพพื้นที่และแนวทางการนำผลการฝึกอบรมจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ไปใช้ในการพัฒนาชุมชน

          สำนักงาน กปร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ร่วมกันสำรวจข้อมูลเบื้องต้นและได้พิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่อำเภอน้ำหนาว มีสภาพปัญหาที่มีความสำคัญควรที่จะได้จัดทำโครงการดำเนินการในลักษณะดำเนินงานแบบเบ็ดเสร็จตามรูปแบบโครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจาพระราชดำริ โดยนำแนวทางการพัฒนาที่ได้จากการศึกษาและพัฒนาตามแนวพระราชดำร ิเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำอำเภอน้ำ

 
         พัฒนาคุณภาพลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สัมพันธ์ และเอื้อประโยชน์ต่อกันได้อย่างยั่งยืนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอน้ำหนาวได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาจนมีสภาพที่สมบูรณ์เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของราษฎร ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ ทำให้คนสามารถอยู่กับป่าได้
 

-

กิจกรรม การสร้างทางลำเลียงในไร่นา
-
กิจกรรมการสร้างคูรับน้ำรอบเขา
-
กิจกรรม การสร้างบ่อดักตะกอนดิน
-
กิจกรรม การแปลกหญ้าแฝก
-
กิจกรรมการส่งเสริมการปลูกไม้แบบผสมผสานให้กับเกษตรกร
-
กิจกรรมสาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด
-
การจัดทำศูนย์เรียนรู้ งานพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
การสร้างทางลำเลียงในไร่นา
การสร้างคูรับน้ำรอบเขา
การสร้างบ่อดักตะกอนดิน
การแปลกหญ้าแฝก