โครงการศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดำริ
 
          ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าโป่งแดง ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ระหว่างค่าพิกัด X = 386524 – 389166 ค่าพิกัด Y = 2128434 – 2132587 ในระบบ WGS84 บนแผนที่ประเทศไทย ลำดับชุด L7018 ระวาง 4547 I และ 4547 II มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4,500 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้


ทิศเหนือ

ติดต่อกับ บ้านสบป่อง

ทิศใต้

ติดต่อกับ บ้านห้วยเดื่อ

ทิศตะวันออก

ติดต่อกับ บ้านห้วยเดื่อ

ทิศตะวันตก

ติดต่อกับ บ้านห้วยเสือเฒ่า


สภาพพื้นที่บริเวณแม่น้ำปาย

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเป็นอันมาก เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบน้อย การคมนาคมไม่สะดวก สภาพภูมิอากาศหนาวเย็น มีราษฎรชาวไทยภูเขาหลายเผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง มูเซอ ม้ง ละว้า (ลั๊วะ) ไทยใหญ่ จีนฮ่อ อาชีพหลักทั่วไปคือปลูกพืชเสพติด การทำไร่เลื่อนลอย และส่งอาวุธให้แก่กลุ่มกู้ชาติต่างๆ ในประเทศพม่า จึงได้มีพระราชดำริให้มีการพัฒนาอาชีพของราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยเน้นหนักด้านการเกษตร มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การป้องกันการบุกรุกทำลายป่า การอนุรักษ์ป่า การบำรุงปรับปรุงดิน ตลอดจนการพัฒนาจิตใจของราษฎรให้เกิดความสามัคคีและหวงแหนแผ่นดินที่ตนอาศัยอยู่

          ในการนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริในการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยจัดให้มีโครงการพัฒนาตามพระราชดำริขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคม ปี 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์ เพ็ญศิริจักรพันธ์ เป็นผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งพระราโชบาย และนำไปปฏิบัติให้เกิดงานอย่างเป็นรูปธรรมของส่วนราชการต่างๆ ได้ปฏิบัติงานถวายจึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้งเป็น “ศูนย์บริการและพัฒนา” ตามพื้นที่ต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดำริ (ศูนย์ท่าโป่งแดง) ซึ่งมีขอบข่าย และ อาณาเขตการดำเนินงานทั้งหมด 18 หมู่บ้าน

          ปัจจุบัน กรมพัฒนาที่ดิน ได้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ครบวงจร ตามพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน ลุ่มน้ำปาย บนพื้นที่ 42 ไร่ ในบริเวณศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดำริ (ศูนย์ท่าโป่งแดง) มีดังนี้

          1. ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ครบวงจร บ้านท่าโป่งแดง หมู่ 5 ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

          2. โครงการสาธิตระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

          3. การสาธิตการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

          4. การสาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด โดยมีการดำเนินการในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปายทั้งหมด

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาอาชีพราษฎรในพื้นที่ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นด้านการเกษตรกรรม มุ่งประสิทธิภาพทางการผลิต การป้องกันการบุกรุกทำลายป่า การอนุรักษ์ป่า การปรับปรุงบำรุงดินและน้ำ ตลอดจนการพัฒนาจิตใจของราษฎรให้เกิดความสามัคคีและหวงแหนแผ่นดินที่ตนอาศัยอยู่
       
    รูปที่ 1 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรภูมิประเทศริมฝั่งแม่น้ำปาย พระราชทานพระราชดำริให้
กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำในลำน้ำปาย เพื่อสูบน้ำขึ้นไปใช้ประโยชน์ในโอกาสที่
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมศูนย์โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดำริ วันที่ 19 มีนาคม 2534
    รูปที่ 2 ทอดพระเนตรระบบส่งน้ำแบบกังหันสูบน้ำจากริมฝั่งแม่น้ำปาย ในโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่สำนักงานชลประทานที่ 2 ได้ออกแบบและสร้างเพื่อสนองพระราชดำริ
ในการชักน้ำมาใช้ในพื้นที่ที่มีระดับสูง โดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2525
       
    รูปที่ 3 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
      ณ ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2546

1.

เพื่อใช้ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์เป็นสถานที่เรียนรู้และฝึกปฏิบัติของเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
2.
เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในสุขภาพของประชาชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
3.
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
4.
เพื่อขับเคลื่อนวาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์
              1. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
-
ก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคภายในศูนย์ฯ เช่น วางท่อระบบน้ำเข้าหมู่บ้านศูนย์ฯ สร้างห้องน้ำรวม
-
ติดตั้งระบบไฟฟ้า และเดินระบบไฟฟ้าในที่พักครบทุกหลัง
-
ปรับปรุงจุดเรียนรู้ภายในศูนย์เรียนรู้ฯ
-
ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ
-
ดูแลบริเวณสถานที่ตลอดทั้งปี
จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ
โรงผลิตน้ำหมักชีวภาพ
ปอเทือง
กองปุ๋ยหมัก
              2.การอบรมเกษตรกร
 
หลักสูตรระยะยาว 1 ปี
-
มีเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 8 ครอบครัว สมาชิก 15 คน
 
หลักสูตรระยะสั้น
-
อบรมเกษตรอินทรีย์แม่ฮ่องสอน ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้งบประมาณของ อบจ.มส. หลักสูตร 4 วัน 3 คืน มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 90 คน
-
รองรับผู้มาศึกษาดูงาน จำนวน 500 คนต่อปี
จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ
โรงผลิตน้ำหมักชีวภาพ
อบรมและส่งเสริมเกษตรกร