|
|
|
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดสกลนคร นครพนม |
|
|
|
ตั้งอยู่ที่
อำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม |
|
พิกัด
UTM 48 N 1875000 1882500 E 459000 467000 |
|
พิกัดที่ตั้งสำนักงาน
UTM 48 N 1876500 E 460000 WGS84 L7018 ระวาง 5942 IV และ 5943 III มีพื้นที่ประมาณ
8,400 ไร่ พื้นที่ขยาย 2,800 ไร่ |
|
สถานที่ดำเนินการ |
|
1.
ปี 2549 หมู่ที่ 8 ตำบลธาตุพนมเหนือ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม |
|
2.
ปี 2550 หมู่ที่ 5 ตำบลนาขาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม |
|
3.
ปี 2551 หมู่ที่ 4,7,10 ตำบลเรณูใต้ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม |
|
4.
ปี 2551 หมู่ที่ 4,7,10 ตำบลเรณูใต้ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม |
|
5.
ปี 2551 หมู่ที่ 4,7,10 ตำบลเรณูใต้ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม |
|
6.
ปี 2554 หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุพนมเหนือ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม |
|
|
|
|
|
23 พฤศจิกายน 2535 ทรงเยี่ยมราษฎรในโอกาสเสด็จฯ
ทอดพระเนตรสภาพลำน้ำ |
ทรงซักถามราษฎรเพื่อใช้เป็นข้อมูลโครงการลุ่มน้ำก่ำ |
|
|
โครงการลุ่มน้ำก่ำ
จังหวัดนครพนม เป็นโครงการที่ราษฎรในท้องถิ่นบริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ
ในเขตจังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม ทูลเกล้าฯ ขอความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ให้ทรงแก้ไขปัญหาพื้นที่บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ ตั้งแต่หนองหานในเขตอำเภอเมืองสกลนคร
จนถึงเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีปัญหาน้ำท่วมเอ่อล้นในฤดูฝน
กล่าวคือ เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงมีระดับสูง จนทำให้ลำน้ำก่ำซึ่งเชื่อมต่อกับหนองหาน
ไม่สามารถไหลลงสู่แม่น้ำโขงได้ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำเป็นบริเวณกว้าง
และเป็นเวลานานทำให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูกของราษฎรเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะในที่ลุ่ม ส่วนในฤดูแล้ง น้ำในแม่น้ำโขงมีระดับต่ำ น้ำในลำน้ำก่ำไหลลงแม่น้ำโขงจนเกือบหมด
ราษฎรเกิดความเดือดร้อน เนื่องจากขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร
วันที่
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาก่อสร้างโครงการลุ่มน้ำก่ำ
จังหวัดนครพนม เพื่อช่วยระบายน้ำออกจากบริเวณพื้นที่น้ำท่วมสองฝั่งลำน้ำก่ำในช่วงฤดูฝน
และเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำก่ำเพื่อให้ราษฎรได้ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรได้
อีกทั้งจัดให้มีการควบคุมระดับน้ำในบริเวณหนองหาน ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอด
โดยขุดคลองและขุดลำน้ำช่วงที่คดเคี้ยวให้ตรงตามความเหมาะสม พร้อมกับก่อสร้างอาคารบังคับน้ำเป็นระยะๆ
รวมทั้งให้ขุดคลองระบายน้ำทั้ง 2 สาย โดยขุดเชื่อมต่อจากหนองหานเลียบไปตามสองฝั่งลำน้ำก่ำถึงเขตอำเภอธาตุพนม
จังหวัดนครพนม พร้อมก่อสร้างอาคารบังคับน้ำตามคลอง เพื่อทำหน้าที่ช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมในฤดูฝนได้มากขึ้น
อีกทั้งให้ทำการปรับปรุงหนองน้ำตามธรรมชาติต่างๆ เพื่อให้สามารถเก็บน้ำได้มากขึ้น
|
|
ภาพร่างเค้าโครงพระราชทานโครงการลุ่มน้ำก่ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวาดบนเครื่องบินพระที่นั่ง |
|
|
ภาพร่างเค้าโครงพระราชทาน
"ตัวยึกยือ" หรือที่บางคนพิจารณาว่าคล้ายกระบวยยักษ์ บางคนก็ว่าเหมือนปลาดุกที่เหลือแต่ก้าง
ลักษณะประกอบด้วยส่วนหัวหมายถึงหนองหาน กระดูกสันหลังหมายถึงลำน้ำก่ำ
ข้อที่เป็นปล้องๆ หมายถึงอาคารบังคับน้ำ ขอบลำตัวเปรียบเสมือนคลองระบายน้ำที่คู่ขนานไปกับลำน้ำก่ำ
ส่วนขาหมายถึงระบบส่งน้ำ และส่วนหางหมายถึงแม่น้ำโขง |
|
|
1. |
เพื่อให้เกษตรกร ได้ทราบแนวทางพระราชดำริ
ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
2. |
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ |
3. |
เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรได้อย่างยั่งยืน |
|
|
|
สถานีพัฒนาที่ดินนครพนม
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 กรมพัฒนาที่ดิน เข้าไปสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
ซ่อมแซมเส้นทางเข้าพื้นที่ จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ
จัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรในหมู่บ้าน |
|
|
การปรับรูปแปลงนา |
สร้างบ่อน้ำในไร่นาของเกษตรกร |
|
|
จัดโครงการรณรงค์ไถกลบตอซังพืช |
ส่งเสริมและสาธิตการทำปุ๋ยหมัก (ซุปเปอร์
พด.1) |
|
|
|