ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
            โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ที่หมู่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12, 13,14 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม หมู่ที่ 5,7,8,13,15 ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม ขอบเขตพื้นที่โครงการจำนวน 1,895 ไร่ และมีพื้นที่ขยายผล 153,383 ไร่
            อยู่ระหว่างพิกัด N : 1519827-1522807 E : 770380 - 772254 WGS84 L7018 ระวางแผนที่ 5236 I , II 5336 III , IV
 

 

           เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดศาลบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน หมู่ที่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 264 ไร่ พระองค์ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรที่ดินดังกล่าว และทรงมีพระราชดำริ กับเจ้าหน้าที่อำเภอ จังหวัด และหน่วยราชการต่าง ๆ ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมปศุสัตว์ ให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แห่งนี้จัดทำเป็นศูนย์ศึกษาตัวอย่าง สาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมและงานศิลปาชีพ เพื่อเป็นแหล่งให้เกษตรกรตลอดจนผู้สนใจได้เข้าชมศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ จากพระราชดำริข้างต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคเอกชนได้ประชุมปรึกษาหารือกัน มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลัก ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการบริหารและกรรมการที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา" คณะกรรมการบริหารฯ ได้ทำหนังสือในนามของ กรมพัฒนาที่ดิน กส. 1801/1094 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชทานชื่อของศูนย์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่การดำเนินโครงการสนองพระราชดำริสืบไป และทางสำนักราชเลขาธิการได้แจ้งให้ทราบตามหนังสือ ที่ รล.002/3041 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2523 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา"

          

 
 
 

1.

เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรในบริเวณลุ่มน้ำห้วยเจ็กและห้วยน้ำโจน ซึ่งอยู่ในเขตตำบลเขาหินซ้อนและตำบลเกาะขนุน มีพื้นที่ปริมาณ 56,000 ไร่ มีรายได้พอเพียงต่อการยังชีพ คือ ประมาณ 20,000 บาทต่อครอบครัวต่อปี และจะใช้พื้นที่เป็นพื้นที่พัฒนาตัวอย่าง เพื่อให้ศึกษาแนวทางการพัฒนาท้องที่อื่นๆต่อไป

2.
เพื่อเป็นแหล่งศึกษาทางวิชาการ ในการหาลู่ทางพัฒนาการเกษตร และอาชีพของเกษตรกรในภาคตะวันออกโดยเฉพาะในจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดปราจีนบุรี
3.
เพื่อเป็นแหล่งฝึกอบรม ให้ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรและด้านศิลปาชีพพิเศษแก่เกษตรกร
 
1.
จัดทำการเกษตรทฤษฎีใหม่และการเกษตรผสมผสาน
2.
จัดทำพื้นที่นำร่องการปลูกพืชสมุนไพร
3.
สาธิตและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพของที่ดินเพื่อปลูกมันสำปะหลัง
4.
สาธิตและผลิตกล้าหญ้าแฝกเพื่อปลูกและเพื่อแจกจ่าย
5.
จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
6.
ขุดลอกลำห้วยธรรมชาติ
7.
จัดทำทางลำเลียงในไร่นา บ่อน้ำประจำไร่นา อาคารชะลอน้ำล้นท่อลอดระบายน้ำ ซ่อมแซมทางลำเลียงในไร่นา
8.
ปรับรูปแบบแปลงนา ปรับปรุงพื้นฟูพื้นที่บ่อทรายร้าง
9.
อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร การทำบัญชีฟาร์ม และอบรมการทำขนมจากแป้งฟลาวมันสำปะหลัง
 
การเกษตรทฤษฎีใหม่
การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
ปรับรูปแบบแปลงนา
ขุดลอกลำห้วยธรรมชาติ
บ่อน้ำประจำไร่นา
อาคารชะลอน้ำ