ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
 
            พื้นที่ดำเนินงานและพื้นที่ขยายผลศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ครอบคลุม 33 หมู่บ้าน ในตำบลคลองขุด, ตำบลรำพัน, ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ และ ตำบลสนามไชย, ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ประมาณ 71,025 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
            1. ที่ตั้งศูนย์การศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน หมู่ที่ 3, 4, 7, 9 และ 10 ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ และหมู่ที่ 7 ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่
            2. หมู่บ้านรอบศูนย์ ได้แก่ ตำบลคลองขุด ตำบลสนามไชย ตำบลรำพัน ตำบลกระแจะ พื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นเขตเกษตรกรรม และหมู่บ้านประมงแนวฝั่งทะเล มีพื้นที่ประมาณ 57,025 ไร่ การดำเนินกิจกรรมมุ่งเน้น การส่งเสริมการเกษตรแบบบูรณาการ
            3. พื้นที่ขยายผลการดำเนินงาน ได้แก่ ตำบลรำพัน ตำบลโขมง ตำบลเสม็ดโพธิ์ศรี อำเภอท่าใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียงศูนย์ฯ มีพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ที่ประสบความสำเร็จ ในศูนย์ฯ สู่พื้นที่โดยรอบศูนย์
            พิกัด N 1392000 E 814000 WGS84 L7018 ระวางแผนที่ 5334 II อาณาเขตติดต่อ
 

    ทิศเหนือ

ติดต่อกับ อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอเขาคิชฌกูฎ

    ทิศใต้

ติดต่อกับ อำเภอแหลมสิงห์และอ่าวไทย

    ทิศตะวันออก

ติดต่อกับ อำเภอเขาคิชฌกูฎและอำเภอเมืองจันทบุรี

    ทิศตะวันตก

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอนายายอาม

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ

 
 

          ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2524 โดยมีพระราชดำริแก่ นายบุญนาค สายสว่าง ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี สรุปได้ว่า

          “...ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสม จัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและการเกษตร ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ของจันทบุรี...”

          และได้พระราชทานเงินที่ราษฎรจังหวัดจันทบุรีได้ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในโดยเสด็จพระราชกุศลในโอกาสดังกล่าวเป็นทุนเริ่มดำเนินการ

          ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สาระสรุปได้ว่า

          “...ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมหรือพื้นที่สาธารณประโยชน์ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาเช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล...”

          ทางจังหวัดจันทบุรีจึงได้ร่วมกันหารือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพิจารณาความเหมาะสม และกำหนดพื้นที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีกรมประมงเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงานในพื้นที่

          ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น จึงรับสนองพระราชดำริ ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2524 ที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานจังหวัดจันทบุรี กรมที่ดิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โครงการชลประทานจังหวัดจันทบุรี กรมชลประทาน สำนักนโยบายและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด กรมปศุสัตว์ และอื่น ๆ

          ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ มีพื้นที่เป้าหมายของโครงการอยู่ ณ บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน ครอบคลุมชายฝั่งทะเลโดยรอบ รวม 200 ไร่ ส่วนพื้นที่รอบนอกได้แก่ พื้นที่เขตตำบลคลองขุด ตำบลสนามไชย พื้นที่ใกล้เคียงซึ่งเป็นเขตหมู่บ้านประมงตลอดแนวชายฝั่งทะเล และเขตเกษตรกรรม ประมาณ 32,000 ไร่

 
 

1.

ศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน

2.
เป็นศูนย์กลางในการอบรมเผยแพร่ ผลการศึกษาการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ให้แก่ส่วนราชการและภาคเอกชนทั่วไป
3.
ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ และอาชีพของราษฎรบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน และพื้นที่ใกล้เคียง โดยมุ่งเน้นพัฒนาช่วยเหลือราษฎรที่มีฐานะยากจน
4.
พัฒนาด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มผลผลิตของประเทศ ตลอดจนพัฒนากิจกรรมอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย
5.
อนุรักษ์สภาพแวดล้อมและดุลยภาพทางธรรมชาติให้คงลักษณะพิเศษของพื้นที่เอาไว้
6.
ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพัฒนา
 
 

บทบาทหน้าที่หลักของงานพัฒนาที่ดิน

- ดำเนินการสำรวจ ศึกษาทดลอง สาธิตทดสอบ อบรมเผยแพร่ความรู้

- ด้านวิชาการ และให้บริการส่งเสริมเกี่ยวกับ การพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรดิน
- จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยพืชสด
- ผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยวดินกรด
- ให้บริการเก็บตัวอย่างดินและวิเคราะห์ดิน
- ส่งเสริมการปลูกและแจกจ่ายกล้าหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่โครงการ หมู่บ้านบริวาร และหมู่บ้านขยายผล
 

ผลการดำเนินงานพัฒนาและขยายผล ในอดีต

1.ศึกษาวิจัยทดสอบด้านวิชาการเกี่ยวกับงานพัฒนาที่ดิน

2.สาธิตและส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์
3.จัดทำระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ
4.ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำฯ
5.ส่งเสริมการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ดินเปรี้ยวและดินกรด
6.อบรมเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน
7.ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์
 

ผลการดำเนินงานพัฒนาและขยายผล ในปัจจุบัน

- ส่งเสริมและพัฒนาการฟื้นฟูทรัพยากรที่ดิน

- ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดิน
- ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
- จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
- ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกและแจกจ่ายกล้าหญ้าแฝก
- จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี/สารเคมี
- ส่งเสริมการเก็บดิน การวิเคราะห์ดิน และให้คำแนะนำ
- จัดทำจุดเรียนรู้การพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการ
- การก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นา นอกเขตชลประทาน
- อบรมเผยแพร่ความรู้ และบูรณาการงานโครงการพระราชดำริฯ
 
ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 3
ฟื้นฟูพื้นที่ทิ้งร้างเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำนา
(ยกคันดินเพื่อปลูกพืช)
การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าว
ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดในสวนผลไม้
รณรงค์งดเผาตอซังข้าว
ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ
และส่งเสริมการไถกลบตอซัง