โครงการขุนด่านปราการชล อันเนื่องมากพระราชดำริ
 
            พื้นที่โครงการฯ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 291,210 ไร่ ส่วนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครนายกและบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี สำหรับจังหวัดนครนายกครอบคลุม 19 ตำบล ซึ่งอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอปากพลี อำเภอองครักษ์ สำหรับจังหวัดปราจีนบุรีครอบคลุม 3 ตำบล อยู่ในเขตอำเภอบ้านสร้าง และ อำเภอเมือง มีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้
 

ทิศเหนือ

ติดต่อกับ ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

ทิศใต้

ติดต่อกับ ตำบลบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

ทิศตะวันออก

ติดต่อกับ ตำบลบ้านพระ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

ทิศตะวันตก

ติดต่อกับ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก


ภาพถ่ายมุมสูง เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เริ่มก่อสร้าง ปี 2542 สร้างเสร็จ ปี 2547
บรรยากาศ ณ เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
 

          สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทาน พิจารณาวางโครงการเพื่อก่อสร้างเขื่อนขุนด่านปราการชล บริเวณบ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เพื่อบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำนครนายกที่เกิดขึ้นเป็นประจำ  และช่วยราษฎรให้มีน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภค-บริโภค รวมทั้งเพื่อการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวด้วย โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน

          วันที่  9 ตุลาคม 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ สรุปได้ว่า “ ให้พิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำคลองท่าด่าน ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยเร่งด่วนเนื่องจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้อยู่ในบริเวณ พื้นที่ราบเชิงเขา สามารถเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์แก่ราษฎรทางตอนล่างได้เป็นจำนวนมาก ” และได้พระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า เขื่อนขุนด่านปราการชล (KHUN DAN PRAKARNCHON DAM) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2549 

          เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อยู่ในลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำนครนายกมีต้นกำเนิดในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งติดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มียอดเขาสูงประมาณ 1,000 - 1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล พื้นที่ในหุบเขาโดยทั่วไปมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 400 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล  สายน้ำไหลจากเทือกเขาใหญ่โดยมีสายน้ำจากน้ำตกเหวนรก น้ำตกสาริกา และน้ำตกนางรอง ไหลมาบรรจบกันที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำบางปะกง ที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ไหลลงสู่อ่าวไทย

          ครอบคลุมพื้นที่ 2,430 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอเมือง อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ ของจังหวัดนครนายก ลำน้ำสายหลัก ได้แก่ คลองท่าด่าน คลองสมอปูน คลองนางรอง และแม่น้ำนครนายก ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำบางปะกง ที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

          เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เริ่มเก็บกักน้ำตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 

          เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างปิดกั้นคลองท่าด่านที่ บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
ทอดพระเนตรภูมิประเทศคลองด่าน 26 ธ.ค. 2519 บ้านสีสุก ต.หินตั้ง อ.เมือง จ. นครนายก
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำริว่า  ....การสร้างแหล่งน้ำผิวดินเพื่อกักเก็บรวบรวมทรัพยากรน้ำไว้ ประกอบกับการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อควบคุมระดับน้ำจะบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ทั้งยังช่วยป้อนน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรได้อย่างพอเพียง ชะล้างความเป็นกรดให้หมดไปจากผืนดิน ท้ายสุดผลประโยชน์ก็จะตกกับชาวไร่ชาวนาและประชาชนโดยถ้วนหน้า....
 

1.

เพื่อเป็นแหล่งต้นทุนของโครงการเขื่อนทดน้ำนครนายกและโครงการฝายท่าด่าน โดยสามารถจัดสรรน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้ 185,000 ไร่

2.
เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัย ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
3.
เพื่อให้เกษตรกรมีแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค 5,400 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่า 357 ล้านบาท/ปี
4.
เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวทำให้การเกษตรได้ผลผลิตดี
 

-

พัฒนาทรัพยากรที่ดินและน้ำ

-
โครงการ ทดสอบสาธิตเทคโนโลยีการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดแบบบูรณาการ
-
เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
-
โครงการ 80 พรรษา พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร เขื่อนขุนด่านปราการชล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
ปลูกแฝกริมสระน้ำ
บ่อน้ำประจำไร่นา
รณรงค์การไถกลบตอซัง
หว่านพืชปุ๋ยสด (ถั่วพุ่มดำ) ในแปลงเกษตรกร