ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรที่ดิน
สถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม |
1. ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพบุคลากร สู่องค์กรแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ |
1.1. ส่งเสริม และพัฒนาบุคลากรโดยยึดหลักสมรรถนะ
(Competency) ให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดการความรู้ (Knowledge
Management) สร้างคลังข้อมูลความ และเชื่อมโยงเครือข่ายแห่งการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ 1.2. ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน จัดระบบข้อมูลข่าวสารการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทุกคนสามารถเข้าถึง พัฒนาสถานที่เรียนรู้ให้เหมาะสมกับ กิจกรรม 1.3. พัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นเลิศในการสร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรที่ดิน ให้มีความอุดมสมบูรณ์และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน 1.4.พัฒนานักวิจัยที่มีอยู่ให้มีศักยภาพ มีความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญสูงขึ้น สามารถ สร้างนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงตรงตามความต้องการ เพื่อการพัฒนาที่ดิน สร้างสรรค์คุณค่า เพิ่มผลิตภาพการผลิตทางการเกษตรนำไปสู่การพึ่งตนเองในระยะยาว และเชิงพาณิชย์ กำหนดมาตรการจูงใจที่มุ่งสนับสนุนให้นักวิจัยสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม พัฒนากระบวนการถ่ายทอดความรู้ ยกย่องนักวิจัยที่มีผลงาน ดีเด่นเป็นแบบ อย่าง 1.5. เพิ่มพูนความรู้และทักษะพื้นฐานในการทำงาน ทั้งการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ แก้ปัญหา ตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม มีคุณธรรม จริยธรรม ทำงานอย่างคุ้มค่า สามารถรองรับและปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 1.6. ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดในเชิงวิชาการ และขยายผลถ่ายทอดสู่เกษตรกร และสาธารณชน เพื่อให้มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง |
2. ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร และเครือข่ายงานพัฒนาที่ดิน มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ |
2.1. ด้านการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร
เน้นกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ - เกษตรกรรายย่อยที่ยากจน ถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนส่งเสริมการใช้ที่ดินและการปรับปรุงบำรุงดิน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้พอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว ให้สามารถพึ่งตนเองได้ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ - เกษตรกรก้าวหน้าเชิงพานิชย์ ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร จัดหาปัจจัยการผลิตในการปรับปรุงบำรุงดิน โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้สารอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตร/เกษตรอินทรีย์ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าเกษตร 2.2. การจัดคลินิกดินเคลื่อนที่ สนับสนุนคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ และจังหวัดเคลื่อนที่ โดยเน้นการให้บริการวิเคราะห์ดิน พร้อมทั้งให้คำแนะนำถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน และสนับสนุนปัจจัยการปรับปรุงบำรุงดิน เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ และให้เกษตรกรนำไปใช้และผลิตเพื่อใช้ได้เองต่อไป 2.3. กระจายและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินทุกสาขา พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดจนการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสร้างเครือข่ายหมอดินอาสาและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องไปทั่วประเทศ ให้ทุกคนสามารถนำไปใช้และพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.4. ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร ให้เกิดความเข้มแข็งเพื่อรองรับการพัฒนาที่ดินทุกรูปแบบ สร้างภูมิคุ้มกันพร้อมเผชิญกับการ เปลี่ยนแปลงเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเกื้อกูลกัน โดยให้หมอดินอาสาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาที่ดินในชุมชนอย่างทั่วถึง 2.5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งชุมชนเมืองและชนบท ในการใช้ประโยชน์และ ดูแลรักษาทรัพยากรที่ดินและสภาพแวดล้อม 2.6. พัฒนาวิทยากรระดับพื้นที่ของกรมฯ วิทยากรหมอดินอาสา เกษตรกรแกนหลัก เกษตรกรแกนรอง เพื่อสร้างเครือข่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน สนับสนุนการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์ |
3. ยุทธศาสตร์เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่ทำการเกษตรให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ |
3.1.
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่ดิน เพื่อการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน
และเป็นรูปธรรม โดยจัดทำเขตพัฒนาที่ดิน คัดเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย บูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสาธิตงานพัฒนาที่ดินให้เกษตรกร และประชาชนทั่วไปได้เห็นประโยชน์ของการอนุรักษ์
ฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินและพัฒนาทรัพยากรดินให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
ปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืน 3.2. จัดทำแหล่งน้ำเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำสระน้ำในไร่นาเพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดินและใช้น้ำในการแก้ไขดินปัญหาทางการเกษตร เช่น การใช้น้ำชะล้าง และควบคุมปฏิกิริยาของดินเปรี้ยว ให้สามารถนำมาใช้เพาะปลูกได้ 3.3. มุ่งพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการอนุรักษ์ฟื้นฟู และปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อการเกษตรให้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัย รวมทั้งขยายพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์ 3.4. สนับสนุนการดำเนินงานโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยสร้างทีมงานชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารโรงงานและขยายการใช้ประโยชน์เพื่อสร้างฐานการ ผลิตด้านที่ดินทำการเกษตร ให้ปลอดภัยและใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่กลับคืนสู่ผืนดิน 3.5. ป้องกันและบรรเทาภัยธรรมชาติ อุทกภัย โลกร้อน พื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดดินถล่ม พื้นที่ทิ้งร้าง พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พื้นที่แล้งซ้ำซาก โดยกำหนดพื้นที่และดำเนินการให้มีการใช้ที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งการเตือนภัยและฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรไม่ให้เกิดการแปรสภาพเป็นทะเลทราย |
4. ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นเลิศของงานวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี มีแนวทางการดำเนินงาน มีดังนี้ |
4.1. ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาสร้างนวัตกรรมการพัฒนาที่ดิน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และผลิตภาพของสินค้าเกษตร ลดต้นทุนการผลิต เน้นดำเนินการในพื้นที่ยากจน
พื้นที่ปรับโครงสร้างภาคเกษตร และพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 4.2. สร้างระบบการทำงานวิชาการทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้เกิดความสอดคล้อง เพื่อเชื่อมโยงให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อการสร้างนวัตกรรม 4.3. พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ การจัดการทรัพยากรที่ดิน และเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินให้ครบถ้วน ทันสมัย และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาที่ดิน 4.4. ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาต่อยอดทางด้านวิชาการ 4.5.สร้างเครือข่ายการถ่ายทอดองค์ความรู้ และส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างครบวงจรทุกช่องทางเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินและ กิจกรรมด้านการพัฒนาที่ดินให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการตระหนักในคุณค่าของการรักษาทรัพยากรที่ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน |
5. ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ มีแนวทางการดำเนินงาน มีดังนี้ |
5.1. ส่งเสริมให้ข้าราชการยึดถือหลักคุณธรรม
จริยธรรม และธรรมาภิบาล โดยให้การ รับราชการมีความเป็นมืออาชีพ ตลอดจนมีสมรรถนะขีดความสามารถ
ในการให้บริการประชาชน ตามแนวทางพระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา สามารถให้ความเห็น
และข้อเสนอแนะตามหลักวิชาการ ปลูกฝังให้มีจิตสำนึกสาธารณะ และพร้อมรับการตรวจสอบจากภาคประชาชน
และภาคอื่นๆ 5.2. ยึดถือ และปฏิบัติตามกฎมายที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วม ของประชาชน 5.3. ปรับระบบงานกรมฯ ให้มีประสิทธิภาพคล่องตัว ปรับบทบาทจากผู้ดำเนินการเองไปเป็นผู้สนับสนุนการพัฒนา ความรู้วิทยาการใหม่ และบริหารจัดการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายที่กำหนด โดยคำนึงถึงความต้องการของเกษตรกร 5.4. เสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นและจังหวัด ภายใต้หลักการยึดพื้นที่-ภารกิจ-การมีส่วนร่วมและปรับปรุงกฎหมายการพัฒนาที่ดินให้เกิด ประโยชน์ต่อการใช้ประโยชน์และรักษาทรัพยากรที่ดิน 5.5. พัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ในระดับบุคคล โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการพิจารณาความดีความชอบ 5.6. ปรับกระบวนการทำงานและระบบบริหารงานด้านการเงิน การพัสดุ การคลัง ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน โดยปรับระบบการทำงานและลดขั้นตอนให้น้อยลง 5.7. สร้างค่านิยมในการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อให้เกิดความมั่นคงในหน้าที่การงานและการดำรงตน ดังนี้ - ให้มีความรัก หวงแหน และรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร - เชื่อมั่นในคุณค่าของบุคลากรและความเป็นเลิศทางวิชาการ - ตั้งมั่นในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล - ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน - มุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันโดยยึดเป้าหมายงานเป็นหลัก - ยึดมั่นในการดำรงตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 5.8. มุ่งดำเนินการตามหลักการ 6 ประการของการบริหารจัดการที่ดี คือ - ความคุ้มค่า : บริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม - นิติธรรม : การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ของสมาชิก - คุณธรรม : ความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต - สำนึกรับผิดชอบ : การตระหนักในสิทธิ หน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม ใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง - การมีส่วนร่วม : ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจ - ความโปร่งใส : กลไกการทำงานขององค์กรเปิดเผย และตรวจสอบได้ |