รูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นดินเปรี้ยวจัด

ประเทศไทยมีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถัน ประมาณ 6.2 ล้านไร่
กระจายในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ พบเป็นดินเปรี้ยวจัดที่มีชั้นดินกรมกำมะถัน
ตื้น 0-50 เซนติเมตร จากผิวดิน (กรดรุนแรงมาก) 0.95 ล้านไร่ ชั้นดินกรดกำมะถันปานกลาง
50-100 เซนติเมตร จากผิวดิน (กรดรุนแรงปานกลาง) 2.51 ล้านไร่ และชั้นกรด กรดกำมะกัน
ลึกมากกว่า 100 เซนติเมตรจากผิวดิน (กรดรุนแรงน้อย) 2.76 ล้านไร่ ปัญหาของดิน คือ
เป็นกรดจัด ขาดแคลนธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอาฟอรัส มีเหล็กและอลูมินัมมากจนเป็นพิษ
ต่อพืชที่ปลูก


การจัดการพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อการปลูกข้าว

- ปล่อยน้ำขังในนาแล้วระบายออก เพื่อล้างกรด
  ออกจากดิน
- ใส่ปูนขาวปรับปรุงดินอัตรา 0.5 1.0 และ 1.5 ตัจต่อไร่
  ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด ที่เป็นกรดรุนแรงน้อย รุนแรงปาน
  กลาง และรุนแรงมาก ตามลำดับ
- ปลูกพืชตระกูลถั่ว (โสนอัฟริกัน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง)
  ไถกลบเป็นปุ่ยพืชสด
- หว่านปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อ พด.9 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อ
 ไร่ก่อนปลูกข้าว และใช้น้ำหมักชีวภาพ (เตรียมจากสาร
 เร่ง พด.2) อัตรา 15 ลิตรต่อไร่

     

- ใส่ปุ๋ยคมี 16-20-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ รอง
  พื้นและแต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัมต่อไร่



- คราบสนิมเหล็กและสารสีเหลืองฟางข้าว
เรียกว่า จาโรไซท์