การฟื้นฟูแก้ไขปัญหาดินเค็ม

 


ดินเค็ม คือดินที่มีเกลือละลายได้ในปริมาณที่มากเกินไป จนมีผล
กระทบต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพืชส่วนใหญ่
วิธีการวัดค่าความเค็มวัดจากค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายที่สกัด
ได้จากดิน ขณะที่อิ่มตัวด้วยน้ำ ซึ่งมีค่าสูงเกินกว่า 2 เดซิซีเมนส์/เมตร
(ds/m) ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

   ดินเค็มในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น

- ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดจากชั้นหินเกลือในหน่วยหินมหาสารคาม มีพื้นที่ 11.5 ล้านไร่
- ดินเค็มภาคกลาง เกิดจากตะกอนน้ำกร่อยและน้ำเค็ม มีพื้นที่ 1.1 ล้านไร่
- ดินเค็มชายทะเล เกิดจากอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเล มีพื้นที่ 2.3 ล้านไร่

   การแก้ไขฟื้นฟูพื้นดินเค็มจัด



    พื้นที่ดินเค็มจัดจะพบคราบเกลือบนผิวดินมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
เป็นพื้นที่ถูกทิ้งร้างใช้
ประโยชน์การเกษตรไม่ได้ มีน้ำใต้ดินเค็ม
อยู่ใกล้ผิวดิน พบวัชพืชทนเค็ม เช่น หนามพุงดอ หนามพรม
    การปรับปรุงและใช้ประโยชน์พื้นที่โดยปลูกต้นไม้ทนเค็มจัด
และ หญ้าทนเค็ม เช่น อะเคเซีย และหญาดิกซี่ ให้เจริญเติบโต
ขึ้นคลุมหน้าดิน ช่วยควบคุมการระเหยของน้ำี่จะพาเหลือมาสะสม
บนผิวดิน และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ดินเค็ม
- การปลูกหญ้าทนเค็มบนพื้นที่ดินเค็มจัด - การปลูกไม้ทนเค็มอะเคเซียบนพื้นที่ดินเค็มจัด

 

- การทำคันคูเพื่อชะล้างเกลือจากชั้นหน้าดิน และควบคุมระดับน้ำใต้ดินเค็ม