หมอดินอาสา คือ เกษตรกรที่เป็นตัวแทนของกรมพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่
ซึ่ง ได้จัดตั้งเป็นเครือข่ายปฏิบัติงาน
ในระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ซึ่งเรียกว่า หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน หมอดินอาสาประจำตำบล
หมอดินอาสาประจำอำเภอ และหมอดินอาสาประจำจังหวัด อาสาเข้ามาช่วยกรมพัฒนาที่ดิน ดูแลรักษา
ทรัพยากร โดยปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่ดิน และเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาทที่ดินในชุมชนเคียงคู่ไป
กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน
บทบาทของหมอดินอาสา : หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในด้านการเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน
คือ
เป็นผู้ทำการเกษตรถูกต้องตามหลักวิชาการพัฒนาที่ดิน เป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรข้างเคียง
และสามารถ
ให้คำแนะนำ เผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ให้แก่เพื่อนบ้านในหมู่บ้าน เป็นผู้ช่วย
หรือผู้นำในการจัดตั้ง
กลุ่มเกษตรกรใช้สารเคมีทางการเกษตร เป็นอาสาสมัครเกษตรที่่จะคอยช่วยเหลือเมื่อกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ มีภารกิจหรือโครงการเร่งด่วนที่้ต้องดำเนินการในพื้นที
ได้จัดอบรมหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน |
วัตถุประสงค์
1)เพื่อให้หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน
ทราบถึง บทบาทหน้าที่ของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ในโครงการ
จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร และข้อมูลข่าวสารตลอดจนผลประโยชน์ที่หมอ
ดินอาสาหมู่บ้านจะได้รับ
2)เพื่อให้หมอดินอาสาประจำหมู่มีความรู้ในเรื่องแผนที่
การอ่านและการใช้ประโยชน์แผนที่ดินไทยและธาตุ
อาหารพืชกรมพัฒนาที่ดิน
3) เพื่อให้มีความรู้โปรแกรมสำเร็จรูปดินไทยและธาตุอาหารพืช
ได้จัดอบรมหมอดินอาสาประจำตำบล |
วัตถุประสงค์
1)
ทราบบทบาทหน้าที่ของหมอดินอาสาประจำตำบล ในปี 2553 โครงการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์
เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนผลประโยชน์ที่หมอดินอาสาประจำตำบลจะได้รับ
2)เพื่อให้มีความรู้เรื่องการอ่านและการใช้ประโยชน์แผนที่ดินไทยและธาตุอาหารพืชของกรมพัฒนาที่ดิน
และโปรแกรมสำเร็จรูปดินไทย และธาตุอาหารพืช
3) เพื่อให้มีความรู้ในเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
การใช้ประโยชน์ พด 11, 12
4) เพื่อให้ทราบถึงภาวะโลกร้อน และผลกระทบตลอดจนการทำการเกษตรที่เหมาะสม
เพื่อลดภาวะโลกร้อน
นโยบายการดำเนินงานหมอดินอาสาประจำตำบล |
1)
กลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
2) การจัดผลิตเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดและการใช้ปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน
3) ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินและจุดเรียนรู้
4) การใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
5) การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก
กลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร |
- หมอดินตำบลเป็นตัวหลักในการสร้างเครือข่ายของกลุ่มเกษตรกรในตำบลนั้น ๆ
- หมอดินตำบลเป็นพี่เลี้ยงในการจัดตั้งกลุ่มฯ กลุ่มละ 50 คนโดยมีการคัดเลือกหมอดินหมู่บ้านเป็นประธานกลุ่ม
และเลือกกรรมการ 5-7 คน เป็นเครือข่ายหลัก
- ควรมีเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มฯ
- ต้องมีการติดตามประเมินความต่อเนื่อง และสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง
กิจกรรม
: การพัฒนาหมอดินอาสาและยุวหมอดินอาสา |
อบรมหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน
โดยมีเป้าหมาในการดำเนินงาน 1,942 ราย
(ดำเนินการเรียบร้อย)
อบรมหมอดินอาสาประจำตำบล
โดยมีเป้าหมาในการดำเนินงาน 132 ราย
(จัดอบรม 3-5 ก.พ.53 )
กิจกรรม
: การพัฒนาเกษตรรุ่นใหม่ |
ปรับปรุงดูแลรักษาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานในสถาบันอาชีวศึกษา
เป้าหมาย 1 แห่ง : แผนการดำเนินงาน ธ.ค.52- พ.ค. 53
ผลการดำเนินงาน ต.ค.52-ม.ค.53 : ก่อสร้างแหล่งน้ำ
จัดรูปและพัฒนาแปลงที่ดินทำกินรายแปลงของเกษตรกร
เป้าหมาย 160 ราย : แผนการดำเนินงาน ก.พ.53-มี.ค.53
ผลการดำเนินงาน ต.ค.52-ม.ค.53 : อยู่ระหว่างการประสานงานกับสปก.