โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
|
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ |
ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า เกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความว่าศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัด ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525 ตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยา ตำบลกะลุวอเหนือ
อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่
1,740 ไร่
จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทาน ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2524
เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ความว่า " ..ด้วยพื้นที่่จำนวนมากในจังหวัดนราธิวาสเป็นที่ลุ่มต่ำ
มีน้ำขังตลอดปี ดินมีคุณภาพต่ำ ซึ่งพื้น
ที่ทั้งหมดประมาณ 3 แสนไร่ เกษตรกรจำนวนมากไม่มีที่ทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่หมดแล้ว
ยังยากที่จะใช้ประโยชน์ทาง
การเกษตรให้ได้ผล ทั้งนี้เนื่องจากดินมีสารประกอบไพไรท์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยว
ควรปรับปรุงดินให้ดีขึ้น
ดังนั้น เห็นสมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนา โดยให้มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบ
ผสมผสาน และนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่ดินพรุในโอกาสต่อไป...."
การศึกษาพัฒนาได้ดำเนิน
การในหลากหลายสาขาวิฃาในลักษะบูรณาการโดยส่วนราชการต่าง ๆ
โครงการที่ประสบผลสำเร็จและมีการขยายผลการพัฒนา ได้แก่ |
- โครงการแกล้งดิน |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแนวทางในการศึกษาวิธีแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด
โดยริริ่มต้นจากการเร่งดินให้เป็นกรดจัด
จนถึงจุดที่ไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจใด ๆ ซึ่งวิธีการเร่งดินให้เป็นกรดจัดรุนแรงนี้
พระองค์ทรงเรียกว่า การแกล้งดิน หรือ การทำให้
ดินโกรธ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินให้กลับมาใช้ประโยชน์
แล้วระบายออกควบคู่ไปกับการใช้หินปูนฝุ่นในปริมาณน้อยร่วมกับ การใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสามารถปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดได้อย่างดี และได้นำมาใช้เพื่อปลูกพืชไร่ พืชผัก และยกร่องเพื่อการปลูกไม้ผลารศึกษาพบว่า การใช้น้ำล้างดินโดยขังน้ำไว้นาน 4 สัปดาห์ แล้วระบายออกควบคู่ไปกับการใช้หินปูนฝุ่นในปริมาณน้อยร่วมกับ การใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสามารถปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดได้อย่างดี และได้นำมาใช้เพื่อปลูกพืชไร่ พืชผัก และยกร่องเพื่อการปลูก |
- การปรับปรุงพื้นที่พรุ |
พรุ
เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมขัง ดินส่วนใหญ่เป็นดินอินทรีย์ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวผุพังของซากพืชที่เน่าเปื่อยทับถมเป็นชั้นหนา
ถัดจากชั้นดินอินทรีย์ลงไปเป็นชั้นดินเลน ตะกอนทะเลที่มีสารไพไรต์สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งหากสัมผัสกับอากาศ จะปลด
ปล่อยกรดกำมะถันออกมาเป็นสาเหตุที่ทำให้ดินเปรี้ยว พื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส
มีเนื้อที่ 261,860 ไร่ เป็นพรุใหญ่ ๆ 2 แห่ง
คือ พรุบาเจาะ มีเนื้อที่ 52,736 ไร่ และพรุโต๊ะแดง
มีเนื้อที่ 209,124 ไร่
ผลสำเร็จของการปรับปรุงพื้นที่ดินพรุ
ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อการปลูกข้าว ปาล์มน้ำมัน และมีพื้นที่บางส่วนใช้ปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพด เป็นต้น |
- พื้นที่ดินพรุหลังจากการ ปรับปรุงใช้เพื่อการปลูกข้าว |
- พื้นที่ดินพรุหลังจากการปรับ ปรุงใช้เพื่อการปลูกปาล์มน้ำมัน |
-โครงการเกษตรทฤษฏีใหม่ |
โครงการเกษตรทฤษฏีใหม่ภายในพื้นที่ศูนย์ฯ
ได้ดัดแปลงสัดส่วนการใช้ที่ดินของที่อยู่อาศัย - แหล่งน้ำนาข้าว -พืชไร่ พืชสวน
จากสูตร
10-30-30-30 เป็น 120-20-30-40 โดยลดขนาดพื้นที่แหล่งน้ำลง เพิ่มพื้ที่ปลูกไม้ผลตามความถนัดของเกษตรกร
มีการปรับปรุง
ดินเปรี้ยวจัด โดยการใส่ปินปูนฝุ่น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี
การพัฒนาที่ดินโครงการหลวง |
ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2520 มีพันธกิจหลักในการสนับสนุนการดำเนิน
งานร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา
และแม่ฮ่องสอน ในพื้นที่ 38 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
มีพื้นที่จำนวน 1,7778,266 ไร่ โดยศูนย์ฯให้การสนับสนุนด้านกำหนดเขตการใช้ที่ดิน
การพัฒนาพื้นที่ด้วยวิธีอนุรักษ์ดินและน้ำ การพัฒนา
โครงการสร้างพื้นฐาน เช่น ก่อสร้างระบบการการใช้น้ำชลประทาน ก่อสร้างเส้นทางลำเลียงภูเขา
และก่อสร้างโรงเรือนเพื่อผลิตพืชผักฯ
ผลสำเร็จของกรมพัฒนาที่ดินของศูนย์ปฏิบัติการฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 - 2553 |
กิจกรรมวางแผนพัฒนาที่ดิน และก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ รวม 114,103 ไร่ |
การก่อสร้างแบบขั้นบันไดต่อเนื่อง | การก่อสร้างแบบคันดินแบบน้ำ | อาคารชะลอความเร็วของน้ำ |
โครงการทุ่งกุลาร้องไห้ |
พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ก่อนการพัฒนา |
พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้หลังการพัฒนา |
- การปรับปรุงพื้นที่นา (Land Renideling) | - การจัดการน้ำเพื่อใช้ในการชลประทาน |