:: วิสัยทัศน์และพันธกิจการพัฒนาที่ดิน ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ::
 
1. หลักการจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรที่ดิน ในช่วงแผนฯ 10
  1.1 แผนพัฒนาทรัพยากรที่ดิน ในช่วงแผนฯ10 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ชี้นำทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาทรัพยากรที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นแผนปฏิบัติการสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 และแผนปฏิบัติการภาคการเกษตร


  
1.2 แผนพัฒนาทรัพยากรที่ดิน ในช่วงแผนฯ 10   เป็นแผนที่มุ่งให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมดำเนินการ

   
2. วิสัยทัศน์ และทิศทางการพัฒนาที่ดิน ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
      (พ.ศ. 2550-2554)
             “พัฒนาที่ดินให้สมบูรณ์   เพิ่มพูนผลผลิต  ในทิศทางใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  บนพื้นฐานความพอเพียง”

  
3. พันธกิจ
               เพื่อให้การพัฒนาที่ดินในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่การพัฒนาที่ดิน อุดมสมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิต สู่ชีวิตพอเพียง เห็นควรกำหนดพันธกิจของการพัฒนาที่ดิน ดังนี้
 
3.1
สนับสนุนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
 
3.2
วิจัย พัฒนา ให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน พร้อมทั้งกำหนดเขตการใช้ที่ดินที่เหมาะสมเพื่อการผลิต และให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านต่างๆ ที่ถูกต้องทันสมัย
 
3.3
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาที่ดินและน้ำ โดยการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน ภายใต้กระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วม  
 
3.3
พัฒนาหมอดินอาสา ยุวหมอดิน เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาที่ดิน เพื่อเป็นรากฐานการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง  
 
  3.5
ปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.พัฒนาที่ดิน  
 
4. วัตถุประสงค์
 
4.1
เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่ดินควบคู่กับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้เป็นฐานการผลิตทางการเกษตรที่มั่นคง ปลอดภัย และยั่งยืน
 
4.2
เพิ่มศักยภาพและสร้างโอกาสการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืน ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมอดินอาสา ยุวหมอดิน เกษตรกร และชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย นำไปสู่การพึ่งตนเอง
       
5.  เป้าประสงค์
 
  ตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาล จัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2551-2554)  
1)
ทรัพยากรที่ดินและน้ำในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการพัฒนาให้มีความ
อุดมสมบูรณ์ เพิ่มผลผลิต และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  ตัวชี้วัด
    เชิงปริมาณ : จำนวนพื้นที่ทางการเกษตรได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู 1.936 ล้านไร่
    เชิงคุณภาพ : พื้นที่เป้าหมายที่ได้รับการปรับปรุง สามารถเพิ่มผลผลิตได้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 20
    เชิงต้นทุน : ค่าใช้จ่ายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรที่ดินและน้ำ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ภายในวงเงินที่ได้รับ  
    เชิงเวลา : ระยะเวลาในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรที่ดินและน้ำในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด  
2)
มีเขตการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร
  ตัวชี้วัด
    เชิงปริมาณ : เขตการใช้ที่ดิน พืชเศรษฐกิจ 5 ชนิดพืช
    เชิงคุณภาพ : เกษตรกรใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างถูกต้องเหมาะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
    เชิงต้นทุน : ค่าใช้จ่ายในการจัดทำเขตการใช้ที่ดินอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับ
    เชิงเวลา : ระยะเวลาในการจัดทำเขตการใช้ที่ดินแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด  
3)
พัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาเพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตร และบรรเทาภัยแล้ง
  ตัวชี้วัด
    เชิงปริมาณ : จำนวนแหล่งน้ำในไร่นาที่ได้รับการพัฒนา 200,000 บ่อ
    เชิงคุณภาพ : มีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต
ทางการเกษตรได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
    เชิงต้นทุน : ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับ  
    เชิงเวลา : ระยะเวลาในการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด  
4)
เกษตรกรเข้าถึงบริการงานพัฒนาที่ดินอย่างทั่วถึง
  ตัวชี้วัด
    เชิงปริมาณ : จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมและบริการด้านการพัฒนาที่ดิน
2.6 ล้านราย
    เชิงคุณภาพ : เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
    เชิงต้นทุน : ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและบริการด้านการพัฒนาที่ดินอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับ
    เชิงเวลา : ระยะเวลาในการส่งเสริมและบริการด้านการพัฒนาที่ดินแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
5)
ทรัพยากรที่ดินและน้ำได้รับการพัฒนาให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มผลผลิตและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  ตัวชี้วัด
    เชิงปริมาณ : จำนวนพื้นที่ทางการเกษตรได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู 68 ล้านไร่
แหล่งน้ำได้รับการพัฒนา 1,300 แห่ง
    เชิงคุณภาพ : พื้นที่เป้าหมายที่ได้รับการพัฒนา สามารถเพิ่มผลผลิตได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
    เชิงต้นทุน : ค่าใช้จ่ายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรที่ดินและน้ำอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับ
    เชิงเวลา : ระยะเวลาในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรที่ดินและน้ำแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
6)
พัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชพลังงานทดแทน
  ตัวชี้วัด
    เชิงปริมาณ : จำนวนพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชพลังงานทดแทน 110,000 ไร่
    เชิงคุณภาพ : พื้นที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชพลังงานทดแทนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
    เชิงต้นทุน : ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชพลังงานทดแทนอยู่ภายในวงเงิน
ที่ได้รับ
    เชิงเวลา : การพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชพลังงานทดแทนแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด  
7)
บุคลากรกรมฯ และหมอดินอาสา ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ
  ตัวชี้วัด
    เชิงปริมาณ : - บุคลากรกรมฯ ได้รับการพัฒนาสมรรถนะ (Competency) ทุกสายงาน
- หมอดินอาสา ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี และการพัฒนาที่ดินสู่ชีวิตพอเพียง จำนวน 77,000 ราย
    เชิงคุณภาพ : บุคลากรกรมฯ และหมอดินอาสา ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    เชิงต้นทุน : ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากรกรมฯ และหมอดินอาสา ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ อยู่ภายในวงเงินที่ได้รับ
    เชิงเวลา : ในการพัฒนาบุคลากรกรมฯ และหมอดินอาสา ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด