หน้าแรก // ข่าวสารจาก CIO //การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านระบบบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร

ข่าวสารจาก CIO
การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านระบบบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร

 
        กรมชลประทาน ได้นำเอาระบบงานด้าน IT มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ในส่วนระบบ Back Office ได้พัฒนาระบบงานที่สำคัญอาทิเช่น ระบบติดตามผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ฟอร์ม (e-Form) โดยเชื่อมโยงหลายระบบเข้าด้วยกัน เช่น ระบบใบลา ใบขออนุญาตเดินทาง ใบจ่ายยืมพัสดุ ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ e-Document ระบบติดตามผลการปฏิบัติราชการ (ตามตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการ) เป็นต้น ในส่วนระบบ Front Office ได้พัฒนาระบบที่สำคัญอาทิเช่น เว็บไซต์ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ (http://wmsc.rid.go.th/) ที่รวบรวมข้อมูล รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน สรุปสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ ตารางสรุปอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ระบบที่สำคัญต่อมา คือ โครงการศึกษาวางระบบและติดตั้งระบบโทรมาตรเพื่อการพยากรณ์น้ำและเตือนภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยา (http://www.scadachaopraya.com) เป้าหมายของการพัฒนาระบบนี้เพื่อการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำโดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ ประกอบการพิจารณาวางแผน / จัดเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพทันต่อสภาวการณ์ในขณะนั้น ข้อมูลในระบบได้รวบรวมจากการรายงานของบุคลากรประจำสถานีต่างๆ ทั้งรายงานผ่าน Webpage ได้รับข้อมูลจากกล้อง CCTV และ รายงานข้อมูลจาก Mobile Application (SMS WMSC EIS) และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ EIS เพื่อประกอบการบริหารจัดการตัดสินใจของผู้บริหาร นอกจากนั้น ยังมีระบบที่น่าสนใจ คือ โครงการศึกษาวางระบบและติดตั้งระบบโทรมาตรเพื่อพยากรณ์น้ำและเตือนภัยลุ่มน้ำสะแกกรัง (http://203.185.128.72/skk/) ที่แสดงข้อมูลในรูปแบบแผนที่ Real Time แสดงข้อมูลปริมาณน้ำฝนสะสม ระดับน้ำปัจจุบัน ปริมาณน้ำ แสดงภาพถ่ายปัจจุบันของสถานีวัดน้ำ ข้อมูลสถิติ ข้อมูลพยากรณ์ นำเสนอในรูปแบบ EIS ให้ผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจได้เช่นเดียวกัน ความสำเร็จที่นำระบบ ICT มาใช้ ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และมีความสะดวกในการใช้งาน
 
        สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมให้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง สนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้รับโอกาสทางการแข่งขันมากขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น อย. ได้นำพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการงานขององค์กร ระบบที่สำคัญอาทิเช่น พัฒนา ระบบ e-Logistics ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขึ้นตั้งแต่ปี 2548 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล Citizen ID/เลขนิติบุคคล (13 หลัก) เลขรหัสประจำบ้าน ชื่อไทย/อังกฤษของสถานที่ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุสารเคมีโดยใช้ CAS Number และ ได้ประสานงานหน่วยงานภายใน/ภายนอก เพื่อปรับปรุงระบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ นอกจากนั้น ได้พัฒนา ระบบเชื่อมโยงข้อมูลรองรับ NSW (National Single Window :NSW) ขึ้นในปี พ.ศ. 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการของประเทศ ลดขั้นตอนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องในลักษณะของบริการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล เพื่อให้เอกสารต่างๆ เช่น ใบอนุญาตการนำเข้า ใบอนุญาตการส่งออก และใบรับรองต่างๆ ที่ออกโดยหน่วยงานหนึ่งสามารถที่จะจัดส่งทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างอัตโนมัติไปให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจได้อย่างครบวงจร ทำให้ภาพรวมของการประกอบการค้า มีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น และ อย. ได้จัดทำ เว็บไซต์ http://www.oryor.com/ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ อย. ข่าวประชาสัมพันธ์งานต่างๆ รวมทั้งได้พัฒนา Oryor Smart Application ให้ผู้สนใจสามารถ Download ผ่าน App Store และ Google Play มาติดตั้งที่เครื่องโทรศัพท์ Smart Phone ได้
 
        สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีเป้าหมายของการพัฒนาตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ สำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2558-2562 เพื่อมุ่งไปสู่ SMART NACC โดยได้มีการพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูล Real Time Agency กับหน่วยงานอื่น เช่น ทะเบียนราษฎร์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การมการขนส่งทางบก กรมสรรพากร และสถาบันการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ กรมที่ดิน เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาประกอบการวิเคราะห์นำไปสู่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแบบเชิงรุก โดยได้พัฒนา เว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช. (http://www.nacc.go.th) มีระบบที่สำคัญอาทิเช่น ระบบเรื่องกล่าวหาร้องเรียนที่อยู่ระหว่างดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง(http://www.nacc.go.th/nacc_accuse_preview.php) สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 103/9 ได้บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. จัดให้มีการเปิดเผยกระบวนการและขั้นตอนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคดีที่อยู่ระหว่างการไต่สวน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ โดยให้มีการจัดทำข้อมูลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงาน ป.ป.ช. ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิของบุคคลและผลกระทบต่อรูปคดีด้วย ระบบดังกล่าว สามารถแสดงรายการเรื่องกล่าวหาร้องเรียนที่อยู่ระหว่างดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง สามารถระบุคำค้นหาจาก เลขรับที่ เลขดำที่ ผู้ถูกกล่าวหา ข้อกล่าวหา ตำแหน่งผู้ถูกกล่าวหา สังกัดของผู้ถูกกล่าวหา ข้อกล่าวหา ระบุวันที่ ซึ่งผลการค้นหาจะแสดงสถานะล่าสุดการดำเนินการ ระบบเรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด (http://www.nacc.go.th/culpability.php) อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูล โดยระบบจะแสดงข้อมูลเลขดำที่ เลขแดงที่ ครั้งที่มีมติ วันที่มีมติ ผู้ถูกกล่าวหา ข้อกล่าวหา ผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. การดำเนินการ ผลการดำเนินการ พร้อมทั้งระบบวันที่ปรับปรุงข้อมูล สามารถนำผลจากการค้นหานี้ไปใช้การชี้มูลเรื่องร้องเรียนร้องทุกของหน่วยงานได้
 

        สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ กับงานภายใน อาทิเช่น ระบบจัดซื้อจัดจ้าง ระบบงานการเงิน ระบบบัญชี ระบบพัสดุ ระบบจัดการกองทุน และระบบ EMS Audit เป็นต้น ระบบบริการภายนอก อาทิเช่น ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน (ITEMS) ระบบผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ระบบทะเบียนรถปฏิบัติการฉุกเฉิน และระบบทะเบียนหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน เป็นต้น ส่วนงานบริการประชาชนที่ สพฉ. ให้บริการ ประกอบด้วย
        1) สายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 โทรฟรี ทั่วไทย จังหวัดไหนจังหวัดนั้น เริ่มต้นจากรับแจ้ง คัดแยกสถานะอาการบาดเจ็บ/ป่วย มีรถพยาบาลพร้อมเครื่องมือแพทย์และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินไปรับผู้ป่วยเฉพาะกรณีเร่งด่วน /เร่งด่วนถึงชีวิต นำส่งโรงพยาบาล กรณีโรงพยาบาลแรกไม่สามารถรับรักษาได้ จะพาไปนำส่งจนถึงโรงพยาบาลที่สามารถรักษาได้ จึงจบภารกิจ
        2)   Mobile Application ประกอบด้วย
                -  EMS 1669 สามารถ  Download  ได้ผ่าน Play Store ใช้ได้เฉพาะ  Android  ผู้ใช้สามารถแจ้งเหตุ ถ่ายภาพส่งพิกัด เพื่อขอความ
                   ช่วยเหลือผ่าน Application EMS 1669 ได้ทันที
                -  Thai First Aids สามารถ Download ได้ผ่าน Play Store และ App Store ใช้ได้ทั้ง Android และ iOS ให้คำแนะนำการปฐมพยาบาล
                   และแบบทดสอบ
                EMS Certificate สามารถ Download ได้ผ่าน App Store ใช้ได้เฉพาะ iOS ใช้สำหรับตรวจสอบรถปฏิบัติการฉุกเฉินด้วยทะเบียน หรือ
                   QR-Code เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นรถพยาบาลของ สพฉ.

 

 


ที่มา : อบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ 4
วันที่ 25 กันยายน 2557

 


หน้าหลักกรมพัฒนาที่ดิน